Page 45 - kpi21196
P. 45
ส่วนที่ 1
ท่านที่รักครับ การดำเนินการในลักษณะของการ “คัดแยกและ
จัดการก่อนส่งมอบ” ตามแนวคิดชุมชนไร้ถังจะทำให้ปริมาณขยะที่จะต้อง
นำไปกำจัด ณ หลุมฝังกลบเหลือน้อยลงมากเลยละครับ เพราะสิ่งที่ใช้ไม่ได้
สิ่งที่เป็นพิษ และติดเชื้อจะมีปริมาณที่น้อยมาก ในการทดลองดำเนินงาน
ตามแนวคิดชุมชนไร้ถังในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกเมื่อปี
พ.ศ. 2549 ที่เทศบาลเมืองเขาสามยอด จังหวัดลพบุรี ได้นำขยะทั่วไปจาก
แนวคิดกระแสหลัก จำนวน 1 ถัง ได้น้ำหนัก 51 กิโลกรัม หักน้ำหนักถัง
ออก 5 กิโลกรัม เหลือน้ำหนักขยะจำนวน 46 กิโลกรัม และเมื่อนำ
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
แนวคิดการจัดการขยะแบบชุมชนไร้ถัง มีขยะติดเชื้อคือผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบ
ใช้ครั้งเดียวทิ้งเท่านั้นที่เป็นขยะ ชั่งน้ำหนักขยะติดเชื้อได้ 2.6 กิโลกรัม
และต่อมาได้นำขยะดังกล่าวไปขุดหลุมฝังกำจัดเอง จึงไม่เหลือขยะที่จะนำ
ไปทิ้งที่หลุมฝังกลบแต่อย่างใด เมื่อชุมชนร่วมกันทำจนไม่เหลือขยะไปทิ้ง
ลงถังก็หารือกันเพื่อคืนถังเพราะตั้งต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ แต่จะมีแต่โทษคือ
กีดขวางการจราจร และที่สำคัญมีคนจ้องจะเอามาทิ้งเป็นภาระให้แก่เรา
เมื่อเอาถังไปคืนเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเราก็จะได้
ชุมชนไร้ถัง แปนเอิดเติด หรือโล่งตาเหมือนภาพที่เห็นในเทศบาลเมือง
เขาสามยอดครับ
ภาพที่ 11 แสดงชุมชนไร้ถังในเทศบาลเมืองเขาสามยอด
สถาบันพระปกเกล้า