Page 41 - kpi21196
P. 41
ส่วนที่ 1
ข้อนี้ไม่จริงนะครับ เราทำส่งต่อกัน เริ่มการจัดการโดยคน ส่วนที่เหลือ
กำจัดโดยเทคโนโลยี ส่วนสิ่งอื่น ๆ มิใช่ขยะจะถูกจัดให้เป็น “วัสดุ”
โดยที่เจ้าของวัสดุจะต้องแสวงหาช่องทางนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย
ตนเอง จำหน่ายเป็นรายได้ บริจาคหรือมอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ
นำไปใช้ประโยชน์ครับผม
ขอย้อนกลับมาในส่วนที่เป็นขยะอีกทีครับ คือ สิ่งที่ใช้ไม่ได้ เป็นพิษ
และติดเชื้อ จะดำเนินการ “แยกและจัดการก่อนส่งมอบ ให้หน่วยงาน
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ที่รับผิดชอบไปกำจัดให้ถูกต้องตามเทคโนโลยี มิใช่แยกก่อนทิ้ง” ส่วนที่
ใช้ไม่ได้ เช่น เสื้อผ้าเก่าที่ระบุว่าจะต้องกำจัดด้วยการฝังกลบ ขอให้
ประชาชนรวบรวมและเก็บให้มิดชิดเพื่อนำไปส่งหลุมฝังกลบหรือเตาเผา
ส่วนที่เป็นพิษ เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ยาหมดอายุ สารเคมี กระป๋อง
ยาฆ่าแมลง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จะนำไปส่งมอบให้องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดไปดำเนินการ ส่วนที่ติดเชื้อ ได้แก่ ผ้าพันแผล
เข็มฉีดยา ให้แยกประเภท เก็บให้มิดชิดและปลอดภัย แล้วส่งมอบองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นรวบรวมไปกำจัด หรือส่งมอบหน่วยงานสังกัด
กระทรวงสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ
โรงพยาบาลประจำอำเภอครับ
มีคำถามตามมาประจำว่าแล้วในส่วนที่เป็น “ขยะทั่วไป” ตาม
แนวคิดกระแสหลักเราคิดอย่างไรหรือครับ แนวคิดแบบชุมชนไร้ถัง เห็นว่า
ไม่ใช่ขยะ ตามแนวคิดชุมชนไร้ถัง ไม่มีขยะทั่วไป แต่จะนำขยะทั่วไปจาก
แนวคิดเดิมมาคัดแยกและจัดการ ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก แก้วกระดาษ
แก้วพลาสติก หลอดดูด ขวดแก้ว ถ้าเปื้อนจะล้างด้วยน้ำเก่าที่ใช้ล้างจาน
แล้ว ถ้าเปียกจะทำให้แห้ง แล้วนำไปบริจาค หรือขาย หรือไม่ก็เก็บไว้ใช้เอง
พูดอีกนัยหนึ่ง ว่า “ถ้าเปื้อนให้ล้าง ถ้าเปียก ให้ตาก ถ้าไม่บริจาคก็เก็บ
ไว้ขายหรือไม่ก็ใช้เอง” ส่วนเปลือกผลไม้ เศษวัตถุดิบจากการประกอบ
0 สถาบันพระปกเกล้า