Page 38 - kpi21196
P. 38
ส่วนที่ 1
เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในการจัดการขยะตามที่ได้กล่าวขานนาน
มาแล้วข้างต้น ผมจึงเห็นว่ามีประเด็นในการพิจารณาเพื่อดำเนินงาน
3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นแรก การหาทางลดปริมาณขยะที่จะต้องนำ
ไปกำจัด ณ สถานที่กำจัดอย่างมีนัยสำคัญเพื่อยืดอายุการใช้งานเทคโนโลยี
ที่ใช้จัดการขยะให้สามารถอยู่ได้นานที่สุด ประเด็นที่สอง การหาทาง
จัดการวิธีการจัดเก็บขยะที่ไม่ต้องมีถังตั้งในที่สาธารณะหรือตามแนวถนน
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด ไม่ทำลายทัศนียภาพของชุมชน
และไม่เป็นภาระด้านงบประมาณแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัด
ซื้อถัง และการแยกประเภทขยะและการขนส่งเพื่อนำขยะไปสู่การกำจัดจะ
ต้องให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่จะใช้ในการกำจัด ประเด็นที่สาม การหา
ทางให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกัน ลดการพึ่งพาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
สามารถพึ่งตนเองในการจัดการขยะได้มากที่สุดเพื่อเตรียมความพร้อม
ในกรณีที่ไม่มีสถานที่ทิ้งขยะในอนาคต แนวความคิดเรื่องชุมชนไร้ถังก็มี
จุดเริ่มต้นมาจากประเด็นการดำเนินงานทั้งสามตั้งแต่ขยะในยุคที่สามตามที่ คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ได้กล่าวมาแล้วนี้ โดยมีเป้าประสงค์รวมที่แสดงออกตรงไร้ถังนี่แหละ
ครับผม
ดังนั้น แนวคิดเรื่องชุมชนไร้ถัง เป็นแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์
โดยวิธีรื้อโครงสร้างการดำเนินงานแบบที่ผ่านมา (Deconstruction)
เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานใหม่ จากการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง
การดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าโครงสร้างทางความคิดหลัก ๆ ในการ
ดำเนินงาน คือ คงจำได้นะครับ “สอนให้ทิ้งลงถัง แล้วหวังขนไปทิ้ง
บ้านคนอื่น” และ “เป้าหมายดำเนินงานไม่ชัด ถนัดแต่วิธีการ” ในส่วนแรก
ยังคงจำได้นะครับ เมื่อสอนให้ทิ้งลงถัง ประชาชนก็อยากได้ถังขยะ
และนำสิ่งของมาทิ้ง หน่วยงานที่รับผิดชอบขนไปทิ้งนอกพื้นที่ เมื่อขน
ไม่ทันขยะก็ค้างในชุมชน หากที่ทิ้งขยะเต็มจึงมีขยะตกค้าง เมื่อขยะตกค้าง
ในชุมชนก็ช่วยตนเองไม่ได้ ในส่วนที่สอง การดำเนินงานผูกติดอยู่กับ
สถาบันพระปกเกล้า