Page 39 - kpi21196
P. 39
ส่วนที่ 1
วิธีเดิม คือ ให้ท่องและสะกดคำ 3Rs และระยะต่อมาให้แยกขยะออกเป็น
4 ชนิด ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย
และมีถังขยะ 4 ถัง 4 สี แต่ผลการดำเนินงานพบว่าขยะในถังทั้ง 4
มีองค์ประกอบเดียวกัน จึงมีการเทรวมกันและนำไปทิ้งในที่เดียวกัน ส่งผล
ให้มีขยะทั่วไปในปริมาณมาก และนำไปสู่หลุมฝังกลบ ส่งผลให้ปริมาณ
ขยะที่จะนำไปกำจัดไม่ลดลง การประเมินผลการดำเนินงานเน้นที่ได้มี
การนำวิธีการที่แจ้งให้ดำเนินการไปดำเนินการหรือไม่ ไม่ได้เน้นหนักที่
เป้าหมายในการดำเนินการว่าจะต้องให้ขยะลดได้อย่างมีนัยสำคัญเท่าใดจึง
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
จะถือว่าประสบผลสำเร็จ กล่าวคือเน้นที่วิธี มากกว่าผลงานตามเป้า
แนวคิดชุมชนไร้ถัง ถึงแม้จะมีเป้าประสงค์เดียวกันกับวิธีการ
กระแสหลัก คือลดปริมาณขยะ ยืดอายุการใช้งานที่กำจัดขยะ ให้ประชาชน
พึ่งตนเองได้ในการจัดการขยะ และลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ “มีเป้าในการดำเนินการเดียวกัน แต่
ต่างกันที่วิธีการดำเนินงาน” วิธีการของแนวคิดของชุมชนไร้ถังย้อนแย้ง
กับวิธีการกระแสหลัก โดยแนวคิดชุมชนไร้ถังเห็นว่า หากจะประสบ
ผลสำเร็จ ลดขยะได้และสะอาดได้ การดำเนินงานงานจะต้องมุ่งไปสู่การ
ลดปริมาณขยะ แล้วลดปริมาณถังขยะ และท้ายสุดต้องไร้ถังขยะครับ
การลดปริมาณถังเพื่อบรรลุการเป็นชุมชนไร้ถัง จะมาจากการมีส่วนร่วม
ในการจัดการขยะของครัวเรือนและทุกภาคส่วนจนลดปริมาณขยะให้เหลือ
เพียง “ขยะจริง ๆ” ที่จะนำไปกำจัดให้ถูกต้องตามหลักและตรงกับ
เทคโนโลยี และสามารถเก็บไว้ในบริเวณบ้านอย่างมิดชิด แล้วส่งมอบแก่
หน่วยงานรับผิดชอบเพื่อนำไปกำจัดอย่างปลอดภัยครับ ทั้งนี้การลด
ปริมาณถังลดโดยการที่ประชาชนจัดการขยะได้เองจนไม่มีความจำเป็นต้อง
มีถังขยะในที่สาธารณะแล้วจึงนำถังขยะที่ไม่ใช้แล้วมาส่งคืน “ไม่ใช่
การเปลี่ยนจากถังเป็นถุง” เด้อ แบบนั้นไร้ถังแบบปลอม ๆ ครับ ไม่ใช่
สภาวะไร้ถังแบบที่ผมกำลังอธิบาย คือไร้ถังของผม ไม่ได้หมายความว่า
สถาบันพระปกเกล้า