Page 37 - kpi21196
P. 37
ส่วนที่ 1
เราจะไปยังไงดีต่อครับ จากปัญหาการเพิ่มขึ้นของขยะและถังขยะ
ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ก็จะสวนทางกันกับที่ระยะเวลาการใช้ของสถานที่
กำจัดขยะโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลุมฝังกลบที่มีอยู่ที่นับวันจะลดน้อยถอยลง
และนับถอยหลังไปทุกวัน และทุกวันนี้แม้จะมีการรณรงค์เรื่อง 3Rs และ
ตั้งถังขยะเพิ่ม ตลอดทั้งมีกฎหมายกำหนดโทษเอาไว้ ผมว่าทุกท่าน
น่าจะเห็นนะครับว่าทุกวันนี้ก็ยังมีการลักลอบทิ้งขยะแบบตุ๊บแล้วจรในที่
สาธารณะ รวมทั้งที่ข้างถังขยะเองด้วย ซึ่งแน่นอนการทิ้งแบบนั้นย่อมก่อให้
เกิดมลพิษและการทำลายทัศนียภาพของพื้นที่ในทันทีที่มีการทิ้ง ท่านที่รัก
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
นี่ก็แสดงให้เห็นคาตาและยืนยันด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การดำเนินงาน
บริหารจัดการขยะในภาพรวมที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ และวิธีการ
ที่ดำเนินการอยู่ (การสั่งการให้รณรงค์ให้ทิ้งลงถังเพื่อขนไปทิ้งที่อื่น และ
การรณรงค์คัดแยก ตลอดทั้งการรณรงค์เรื่อง 3Rs) ไม่น่าจะเพียงพอ
ในการแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการครับ
ไล่เรียงทีละประเด็นตามลำดับต่อไปนี้ครับ ประการแรก การ
ดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้ปริมาณขยะที่จะต้องนำไปกำจัดลดลงซึ่งจะ
ส่งผลต่ออายุการใช้งานของที่กำจัดขยะ ประการที่สอง การมีถังขยะตั้ง
เรียงรายในที่สาธารณะไม่ได้ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามและก่อให้เกิด
ความสกปรก ซึ่งตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ของการจัดการขยะที่ต้องการ
ให้เกิดความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และการแบ่งประเภทของขยะ
ไม่ได้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่จะนำไปกำจัด การนำเสนอแนวทางขาดมิติ
เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี ประการที่สาม การดำเนินงานที่ผ่านมาประชาชน
ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในการบริหารจัดการขยะ ไม่มีภูมิคุ้มกันในวันที่ไม่มี
ที่ทิ้งขยะเพราะต้องรอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเก็บขนไปทิ้งที่อื่น
นอกชุมชนของตนเอง ในกรณีที่รถขยะไม่มาเก็บขนจะปรากฏมีขยะตกค้าง
และเน่าส่งกลิ่นเหม็นในชุมชน เพราะที่ผ่านมาเราได้แต่บ่น ๆๆ ว่าทำไม
ไม่มา อิอิ
6 สถาบันพระปกเกล้า