Page 49 - kpi21196
P. 49

ส่วนที่ 1



            ส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานสาธารณะและเกิดผลสัมฤทธิ์
            ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นไปตามหลักการของความเป็นพลเมืองที่มีสำนึก

            รับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย และสามารถพัฒนาประชาชนให้มี
            ภูมิคุ้มกันในกรณีที่ไม่มีที่ทิ้งขยะ จึงได้ขยายแนวคิดโครงการพลเมือง
            ยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง ลงมาดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
            ภาคส่วนต่าง ๆ ในการบริหารจัดการขยะ และได้ริเริ่มโครงการเมื่อปี
            พ.ศ. 2554 ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง เรื่อยมาจนถึง

            ปัจจุบันครับ
    คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
                  เอาละครับ เล่าความเป็นมาก็ยาวพอสมควร ทั้งนี้ก็เพื่อเคลียร์

            ข้อข้องใจกันก่อนนะครับ ผมเรียนว่าการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ชุมชนไร้ถัง
            โดยเทคนิควิธีการ ไม่ได้ยุ่งยาก ไม่ได้ซับซ้อน ที่ยากคือความเข้าใจ และ
            การเปลี่ยนใจ เราได้เข้าใจในหลักการและความเป็นมาในภาพกว้างแล้ว

            นะครับ ต่อไปก็จะพาท่านลงมาเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
            พื้นที่ท้องถิ่นครับ

            1.2 การวิเคราะห์บริบทพื้นที่หรือสภาวการณ์แวดล้อม
                  ของท้องถิ่น


                  ท่านที่เคารพครับ ปัญหาการจัดการขยะมันเป็นปัญหาสังคมเพราะ

            ขยะมันไม่ได้กำเนิดจากดาวอังคารแล้วก็หล่นลงมายังโลกครับ มันเกิดจากคน
            คนที่พยายามจะเอาความสะดวกสบายใส่ตัวเองนี่และครับ คนนี่คิดไป
            คิดมาก็ประหลาดนะครับ ที่รู้เพราะว่าผมก็เป็นคน คิคิ เลยรู้อยู่ว่าคิด
            อะไรอยู่ ความพยายามนี่ก็ดีนะครับ คนคิดก็เก่งครับ คิดเครื่องอำนวย

            ความสะดวกต่าง ๆ นานา  สร้างและผลิตโน่นนี่นั่นมากมายมาให้คนใช้
            เพื่อให้ชีวิตประจำวันมีความสะดวกสบาย เช่น คิดค้นเครื่องใช้ไฟฟ้า
            อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ใยสังเคราะห์ สารเคมี ยานพาหนะ แต่




              สถาบันพระปกเกล้า
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54