Page 252 - kpi21193
P. 252

ความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ปลัดมีวิธีการในการค้นหาความสามารถพิเศษของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ
                      ประชาชน และให้ทำภารกิจ/กิจกรรมที่ท้าทาย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของพวกเขา จนเป็นที่มา

                      ของนวัตกรรมต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เช่น เสาไฟฟ้า Number
                      กายอุปกรณ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบใกล้ตัว เป็นต้น


                            ความสามารถในการคิดและตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดีแก่องค์กรและสังคม ซึ่งในด้านนี้
                      จะสะท้อนถึงค่านิยม ความเชื่อของผู้นำในการใช้วิจารณญาณว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี และยืนหยัด
                      อยู่บนการตัดสินใจที่ดีงาม โดยพิจารณาจากสิ่งที่ถูกต้องหรือดีทั้งสำหรับองค์กรและสังคม ไม่ใช่

                      เพื่อกำไรหรือความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งในการดำเนินการของนวัตกรรมตำบลสุภาวะ        “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ปลัดได้มีการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในการตัดสินใจ

                      ในการทำงานซึ่งประกอบด้วยหลักนิติธรรมโดยการปรับปรุงระเบียบ ข้อกฎหมายให้เหมาะสม
                      ทันสมัย หลักคุณธรรมโดยทำการส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย
                      หลักความโปร่งใสโดยจัดระบบการทำงานที่ตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วมโดยส่งเสริมให้

                      ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว หลักความรับผิดชอบมีการจัดทำ
                      ข้อปฏิบัติเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพชัดเจน หลักความคุ้มค่าเน้นการส่งเสริมการใช้

                      ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
                      ดอนแก้วที่แตกต่างจากที่อื่นและเป็นหลักที่สำคัญในการผลักดันนวัตกรรมตำบลสุขภาวะคือ
                      หลักสร้างสรรค์โดยการเปิดเวทีไม่ปิดกั้น ซึ่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วได้มีการนำ

                      หลักการมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ดังนี้

                            หลักการมีส่วนร่วม ถูกนำมาใช้ในการระดมความคิดและเสนอแนวทางในเวทีข่วงกำกึ๊ด

                      ของคนพิการ ข่วงการจัดการขยะ ข่วงละอ่อนดอนแก้ว การสร้างความเป็นเจ้าของโดยการ
                      พัฒนาศักยภาพแกนนำที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยากรชุมชนการจัดการขยะ สร้างระบบอาสาสมัคร

                      เป็นผู้แทนภาคประชาชนร่วมดำเนินการ เช่น อสม.ดูแลประชาชนในพื้นที่ 1 คนต่อ 15 หลังคา
                      เรือน ร่วมดำเนินงานในลักษณะบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น รพ.นครพิงค์   ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด  การส่งเสริมให้ประชาชนได้ร่วมรับผลประโยชน์จาก

                      กิจกรรมที่ร่วมดำเนินงาน เช่น ได้รับสวัสดิการ การได้รับบริการสาธารณะที่เป็นรูปธรรม และ
                      การเชิดชูเกียรติโดยการยกย่องเป็นคนดีจิตอาสาของตำบล

                            หลักการลดความเหลี่อมล้ำในสังคม ในการรวบรวมข้อมูลประชาชนในพื้นที่ วิเคราะห์

                      กลุ่มที่ต้องการดูแล และตามกลุ่มอายุ การจัดบริการและจัดสวัสดิการครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ
                      การจัดระบบการบริการสาธารณะในเชิงรุก เช่น การมีนักบริบาลชุมชนเพื่อให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน

                      การพัฒนาระบบอาสาสมัครให้ดูแลประชากรทุกกลุ่มอายุ และทุกด้าน การสร้างพื้นที่หรือทาง




                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   2
   247   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257