Page 76 - kpi21190
P. 76
76
เมื่อตีความในแง่การเมืองแล้วจะเห็นได้ว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบบที่เหมาะสม
ที่สุดของรัฐบาลในการจัดระเบียบและรักษาแนวทางในการลดความไม่เท่าเทียม เนื่องจาก
เป็นระบบที่มีแนวคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเสริมพลังพลเมือง ในประเทศไทย
การเลือกตั้งรัฐสภาครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ทำให้ประชาธิปไตยมีความเข้มแข็ง
มากขึ้นและทำให้ประชาชนมีอำนาจผ่านตัวแทนในทางนิติบัญญัติเพื่อใช้สิทธิในการเรียกร้อง
การกระจายความมั่งคั่งที่เท่าเทียมกันได้ดีกว่าเดิม รวมถึงการเข้าถึงการบริการของรัฐและ
ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ถูกรวมไว้อย่างบูรณาการ สถาบันการเมืองและรัฐสภาที่มีความโปร่งใส
ครอบคลุมทุกด้านและมีความรับผิดชอบมากขึ้นรวมทั้งมีธรรมาภิบาลที่จะนำไปสู่การแก้ไข
ปัญหาและลดความไม่เท่าเทียมกันได้มากขึ้น บทบาทของรัฐสภาในการตัดสินใจว่ารัฐบาลจะใช้
จ่ายเงินของผู้เสียภาษีอย่างไรผ่านการลงคะแนนเสียงของงบประมาณและในการรับผิดชอบของ
ผ่ายบริหารมีความสำคัญในความพยายามดูแลสังคมให้ครอบคลุมมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้อยู่ใน
เป้าหมายประการที่ 16 ของ SDG เป้าหมายที่ต้องการส่งเสริมสังคมที่สงบเพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืนและครบวงจรทุกคนมีการเข้าถึงความยุติธรรมและการสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อรับผิดชอบและครอบคลุมการทำงานในทุกระดับ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านในห้วข้อสุดท้ายนี้ผมขอเสนอข้อโต้แย้งเพิ่มเติมซึ่งผมเชื่อว่ามี
ความเกี่ยวข้องอย่างมากกับประเทศไทยในความพยายามที่จะลดความไม่เท่าเทียมกันและ
สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตยโดยสถาบันในทุกระดับ ผมขอเน้นว่าทุกระดับทำให้
หลายคนยอมรับว่าประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาลท้องถิ่น
ได้แก่ พระราชบัญญัติการกระจายอำนาจได้ผ่านไปใน พ.ศ. 2542 กำหนดกระบวนการใน
การกระจายงบประมาณบางส่วนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะ
ถ่ายโอนงบประมาณของรัฐบาลประมาณร้อยละ 35 ไปที่การบริหารส่วนตำบล
20 ปีต่อมางบประมาณน้อยกว่าร้อยละ 30 ได้ถูกถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และมีหลายแห่งที่การถ่ายโอนงบประมาณไม่เกิดขึ้นอีกเลย ดูเหมือนว่าการตัดสินใจงานบริหาร
และการวางแผนการแก้ปัญหาเกิดขึ้นในกรุงเทพ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำซากหลายครั้งและ
เมืื่อสอบถามไปทางผู้บริหารท้องถิ่นว่าแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่นได้อย่างไรคำตอบคือเดินทาง
ไปกรุงเทพเพื่อขอคำปรึกษา แม้ว่ามีหลายคนยืนยันว่าการลดความไม่เท่าเทียมและระบอบ
Keynote Speaker และการบริหารที่มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ปัญหาความไม่เท่าเทียมแตกต่างกัน
ประชาธิปไตยจะดีที่สุดหากเริมตั้งแต่ในระดับท้องถิ่นดังนั้นจึงมีการเรียกร้องให้มีระบบการเมือง
ในแต่ละที่ปัจจัย ความไม่เท่าเทียมนั้นอาจแบ่งได้จากความแตกต่างทางภูมิศาสตร์เนื่องจาก
เกี่ยวข้องกับโอกาสทางเศรษฐกิจพื้นที่ที่แตกต่างกันทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทำให้มีสภาพ
ภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่แตกต่างกัน