Page 78 - kpi21190
P. 78
78
ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดี หลักการสำคัญสามประการของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
พอประมาณ สติปัญญา ความเข้าใจ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบรรลุเป้าหมาย SDGs
ในปี พ.ศ. 2550 หน่วยงาน UNDP ในประเทศไทยจัดทำรายงานการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ระดับชาติเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” ในส่วนบทนำของ
รายงานได้กล่าวถึงแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นผู้คนและความเป็นอยู่ที่ดี
เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาและวิสัยทัศน์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นไปตามท้องถิ่น
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องของประชาชนที่มีทางเลือกและสามารถใช้ชีวิตที่ดีอย่างมี
ความรู้และสร้างสรรค์สังคม นอกจากนี้ยังเน้นแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแนวทาง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างชัดเจนโดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างกุญแจสำคัญในการพัฒนา
อย่างยั่งยืนโดยสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและความมั่งคั่งในระยะยาว ยืนยันได้จากเมื่อวันที่
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 นายโคฟีอันนันในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น
ได้ถวายรางวัลความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อในหลวงรัชกาลที่ 9
ผมต้องการเน้นสิ่งที่ท่านโคฟี อันนัน ได้กล่าวในเวลานั้นเพราะผมเชื่อว่าปัญหาที่เรากำลัง
พูดถึงสามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้องตามปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับชุมชนทุกหนแห่งในช่วงเวลาที่โลกาภิวัตน์เกิดขึ้น
พร้อมความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว วิถี ‘สายกลาง’ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเสริมแรง
และสนับสนุนภารกิจของสหประชาชาติในแนวทางการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและ
เน้นความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วาระการพัฒนาและวิสัยทัศน์ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นแรงบันดาลใจให้แก่อาสาสมัครและผู้คนในทุกที่
จากคำกล่าวนี้เป็นที่ชัดเจนว่ากรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้อ้างอิงเพื่อทำให้
แนวปฏิบัติที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียม ในวิสัยทัศน์การพัฒนาระยะเวลา
20 ปีของประเทศไทยจะไม่พบการอ้างอิงถึงระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจนแต่ระบุ
องค์ประกอบที่สำคัญในแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจ รูปแบบการบริหารจากความต้องการของประชากรสู่การตัดสินของผู้บริหาร
การเสริมอำนาจของประชาชนภายในหลักคำสอนของแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเชื่อมโยง
ที่ชัดเจนกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
Keynote Speaker สองด้านเรื่องความไม่เท่าเทียมที่มีลักษณะซับซ้อนหลากหลายและท้าทายต่อระบอบ
เรียนท่านผู้มีเกียรติทุกท่านสิ่งที่เราต้องเข้าใจคือประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหา
ประชาธิปไตยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เราทุกคนเห็นพ้องกันว่าคนไทยส่วนใหญ่ปรารถนา
สังคมที่เท่าเทียมกันพร้อมกับประชาธิปไตยที่หยั่งรากลึกและยืดหยุ่นมากขึ้น แม้เดือนนี้จะเป็น
เพียงเดือนที่ 6 ของผมในประเทศไทยจากการสังเกตและการสนทนาของผมกับตัวแทนของทุก
ภาคส่วนในประเทศไทย ผมมั่นใจว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายในการลดความไม่เท่าเทียม
และเสริมสร้างประชาธิปไตย วิสัยทัศน์ของรัฐบาลมีความชัดเจนตามคำมั่นสัญญาต่อประเทศ