Page 77 - kpi21190
P. 77
77
แนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมเหล่านี้และสาเหตุที่แท้จริงนั้นจำเป็นต้องได้รับ
ข้อมูลความเป็นจริงจากท้องถิ่น ในทำนองเดียวกันประชาธิปไตยในฐานะระบบที่ให้ความสำคัญ
กับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีส่วนร่วมนั้นต้องมีความชัดเจน บางคนก็อาจจะ
กล่าวว่าประสิทธิภาพจากการดำเนินการขึ้นอยู่กับระยะห่างจากกระบวนการการตัดสินใจ
โดยต้องมีระยะที่สั้นที่สุด การสร้างความมั่นใจว่ารัฐบาลท้องถิ่นได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
มีอำนาจในการดำเนินนโยบายเพื่อเพิ่มรายได้และจัดสรรทรัพยากรทั้งหมดนี้บนพื้นฐาน
ของความเข้าใจและการรับรู้ถึงความเป็นจริงทางสังคมและศรษฐกิจที่มีแรงขับเคลื่อนจาก
ความต้องการของคนในท้องถิ่น ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการจัดการกับความไม่เท่าเทียม
ที่มีประสิทธิภาพดังนั้นการกระจายอำนาจที่เสริมกำลังระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ที่นำมาใช้กับการจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันผ่านการสนับสนุนด้านต่าง ๆ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านจากที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าข้อที่ต้องการให้พิจารณาทั้งหมดนี้
ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการวิจัยเชิงวิชาการแต่อย่างใด เป็นเพียงแค่การตั้งข้อสังเกตและ
ประสบการณ์จากตัวอย่างความสำเร็จต่าง ๆ ประสบการณ์ด้านการพัฒนามากกว่า 20 ปี
สอนผมเรื่องลัทธิปฏิบัตินิยมและความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับบริบททางวัฒนธรรมและ
ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากหากมองหาวิธีการพัฒนาเพื่อรับมือกับปัญหาที่มี
ความซับซ้อนหรือคาดเดาไม่ได้เพราะมีความผันผวนสูง ผมยังคงเชื่อมั่นว่าวาระปี 2030
และ SDG ทั้ง 17 ประการมีกรอบที่น่าสนใจและไม่ซ้ำใครในการจัดการปัญหาเหล่านี้รวมถึง
การลดความไม่เท่าเทียมและเสริมสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง พร้อมพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน
ที่เป็นสากลและเน้นอยู่ในกรอบการพึ่งพาซึ่งกันและกันสอดคล้องกับเป้าหมายทั้งหมดของ
SDGs ที่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับประเทศที่จะนำมาใช้และมุ่งมั่นที่จะบรรลุ
เป้าหมายต่าง ๆ ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ในประเทศไทยทำให้ผมเชื่อมั่นอย่างมากถึง
ความมีส่วนร่วมสอดคล้องกับความแข็งแกร่งและความเป็นบูรณาการซึ่งมีกรอบอ้างอิงตาม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในฐานะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในประเทศไทยไม่นานแต่ผมได้รับโอกาสหลายครั้งในการเรียนรู้
เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจในทันทีคือเป้าหมาย SDGs และ
ระเบียบวาระ ค.ศ. 2030 มีแนวทางและหลักการร่วมกันกับกรอบที่กำหนดในปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนการเติบโตที่มีความมั่นคง
มากกว่าความรวดเร็ว เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่มั่นคงและมีการแบ่งปัน Keynote Speaker
ผลประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันก็เน้นถึง
ผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการความไม่เท่าเทียมกันที่ไม่สามารถแก้ไขได้และการใช้ทรัพยากร
ธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความสำคัญของ “ภูมิคุ้มกันตนเอง”
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือความสามารถในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศ ชุมชน
ครอบครัวต่อแรงกระแทกจากภายนอกทุกระดับ ได้แก่ วิกฤตเศรษฐกิจ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ