Page 72 - kpi21190
P. 72

72



               ในเรื่องนี้ โลกมีความก้าวหน้าที่สำคัญในการลดความยากจนและการพัฒนามนุษย์ในทศวรรษ

               ที่ผ่านมา กลุ่มผู้มีปัญหาความยากจนลดลงจากร้อยละ 36 ของประชากรโลกใน พ.ศ. 2533
               เหลือเพียงร้อยละ 8 ในปัจจุบัน ผู้คนมากกว่าหนึ่งพันล้านคนได้รับความช่วยเหลือให้พ้นจาก
               ความยากจน สิ่งเหล่านี้สำเร็จได้เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนา
               และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็วและมากขึ้น


                     สำหรับประเทศไทย ได้เห็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในประเทศในอดีตที่ผ่านมา
               ความยากจนขั้นรุนแรง (รายได้เฉลี่ย $ 1.9 ต่อวัน) อยู่ในระดับเกือบเป็นศูนย์และปัญหา
               ความยากจนที่ซ้ำซ้อนนั้นมีอยู่เพียงเล็กน้อย (0.8 %) เนื่องจากการจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน
               และบริการที่ดีขึ้นทั้งด้านสุขภาพและการศึกษา ประเทศไทยได้ทำหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

               ซึ่งรวมเอารูปแบบการคุ้มครองทางสังคมหลายประการเข้าด้วยกัน ประเทศไทยได้พัฒนา
               เศรษฐกิจที่ทันสมัยและรวดเร็ว การขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคการผลิตและบริการเป็น
               แรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่ทำให้เกิดรายได้ระดับปานกลางถึงระดับสูง
               พวกเราอยู่ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่แต่เมื่อก่อนโลกไม่เคยเชื่อมต่อกัน

               เหมือนอย่างทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามความไม่เสมอภาคไม่เพียงแต่ยังคงมีอยู่แต่ยังเพิ่มขึ้น
               มีความเชื่อมโยงกันระหว่างความยากจนและการกีดกันที่ยังคงมีอยู่ ความไม่เท่าเทียมกัน
               ของรายได้เพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาคของโลกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาอยู่ในระดับ
               ความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน ในสองสามทศวรรษที่ผ่านมาผู้ที่มีรายได้อันดับต้น ๆ เป็นกลุ่ม

               ประชากรเพียงร้อยละ 1 ของโลกและมีการเติบโตของรายได้มากขึ้นถึง 2 เท่า มีระดับรายได้
               เท่ากับกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดถึงร้อยละ 50 ของกลุ่มประชากร ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
               ไม่เพียงแต่จะถูกมองจากมุมมองของรายได้แต่ส่งผลกระทบต่อมิติอื่น ๆ ในสังคมด้วยและเป็น
               กุญแจสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาของปะรเทศ ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึง

               ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดินและทรัพยากรน้ำ ศักยภาพที่จำกัดของเกษตรกรและปริมาณ
               ผลผลิต ความไม่เท่าเทียมกันที่จะได้รับประโยชน์จากบริการของรัฐ เช่น สุขภาพและการศึกษา
               ไม่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการในตลาด ความไม่
               เท่าเทียมกันในแง่ของการมีความรู้ทางดิจิทัลสร้างความไม่เท่าเทียมกันเนื่องจากบทบาทที่สำคัญ

               ยิ่งขึ้นของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันของเราและในการทำงาน
         Keynote Speaker   เช่น ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ วัฒนธรรมประเพณี บรรทัดฐานทางสังคม แบบแผนทางสังคม
                     ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาความไม่เท่าเทียมเหล่านี้รุนแรงยิ่งขึ้นด้วยปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย



               ระบบการเมือง เป็นต้น บทความล่าสุดในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้นำเสนอภาพประกอบ
               ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย ในเรื่องของความไม่
               เท่าเทียมกันของรายได้ที่ระบุว่าเป็น พ.ศ. 2558 รายได้เฉลี่ยของคนที่ยากจนที่สุดในจำนวน
               กลุ่มประชากรร้อยละ 10 ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของกลุ่มคนรวยที่สุดถึง 22 เท่า ความไม่เท่าเทียม
               กันในแง่ของสินทรัพย์เป็นความจริงที่ชัดเจนในประเทศไทย บทความเดียวกันนี้เน้นว่า

               ใน พ.ศ. 2555 ร้อยละ 10 แรกของเจ้าของที่ดินนับเป็นร้อยละ 61.5 ของที่ดินที่มีอยู่ทั้งหมด
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77