Page 70 - kpi21190
P. 70

70



                     ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงาน UNDP ที่ได้รับเชิญจากสถาบันพระปกเกล้า

               ให้บรรยายเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและการปกครองระบอบประชาธิปไตย ผมขอ
               กล่าวขอบคุณท่านคณะกรรมการที่จัดการประชุมครั้งที่ 21 ที่มอบโอกาสพิเศษนี้ให้ผมเพื่อร่วม
               แบ่งปันความรู้ความเข้าใจในมุมมองของหน่วยงาน UNDP ในหัวข้อ “ลดชองว่างความเหลื่อมล้ำ
               สร้างคุณภาพประชาธิปไตย” เมื่อหน่วยงาน UNDP ได้รับจดหมายเชิญจากสถาบัน

               พระปกเกล้าเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้วทำให้ทราบถึงความสนใจของประเด็นปัญหาที่ทางหน่วยงาน
               ให้ความสำคัญอยู่แล้ว ผมจึงตอบรับคำเชิญทันทีด้วยเหตุผลสองประการนี้

                     ประการแรก หน่วยงาน UNDP ให้ความสำคัญกับการลดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
               และการส่งเสริมหลักประชาธิปไตยซึ่งเป็นหลักสำคัญของการทำงานของหน่วยงาน UNDP

               ในประเทศไทยและใน 130 ประเทศทั่วโลก หน่วยงาน UNDP ทำงานในประเทศไทย
               มานานกว่า 50 ปีเคียงคู่พันธมิตรจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน รวมทั้งชุมชน
               ท้องถิ่น หน่วยงานของเราได้ระดมทรัพยากรและความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจ
               เกี่ยวกับเหตุผลที่ระดับของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมเพิ่มขึ้น อีกทั้งเหตุผลที่ระบอบ

               ประชาธิปไตยถูกท้าทายในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้หน่วยงาน UNDP มีจุดประสงค์
               ที่จะชี้ให้เห็นแนวทางการพัฒนาและอุปสรรคที่เป็นบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศเพื่อจัดการ
               กับความไม่เท่าเทียมในสังคมและเสริมสร้างประชาธิปไตยให้เข้มแข็งมากขึ้น

                     ประการที่สอง ที่หน่วยงาน UNDP คือตั้งแต่ผมมารับหน้าที่ของหน่วยงาน UNDP

               ในประเทศไทยเมื่อหกเดือนที่แล้ว ผมมักจะรับรู้เรื่องราวด้านประเด็นความไม่เท่าเทียม
               ในระบอบประชาธิปไตยในเกือบทุกวัน ผมยังจำได้ว่าเมื่อต้นเดือนธันวาคมของปีที่แล้ว
               ขณะที่ผมมาทำภารกิจสั้น ๆ ในกรุงเทพฯ ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ที่ตีพิมพ์

               บทความเกี่ยวกับข้อมูลที่นำเสนอโดยธนาคารของประเทศสวิสฯโดยให้ข้อมูลว่าประเทศไทย
               เป็นประเทศที่ไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดในโลก ตามข้อมูลพาดหัวข่าวคือ ร้อยละ 1 ของคนไทย
               เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดและควบคุมความมั่งคั่งของประเทศเกือบ ร้อยละ 67 ซึ่งเป็น
               เปอร์เซ็นต์ที่สูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก และแม้ว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์จาก
               หลายคนต่อต้านการวิเคราะห์ข้อมูลนี้แต่ความไม่เท่าเทียมกันได้กลายเป็นประเด็นใหญ่

               ในประเทศไทยไปแล้ว ประชาธิปไตยในประเทศไทยแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ผมมาถึง
         Keynote Speaker   พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งครั้งนั้นเกิดหลังจากการรัฐประหารครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2557 ทำให้
               ที่สนามบินสุวรรณภูมิในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการเลือกตั้งระดับประเทศในเดือนเมษายน



               ประเทศไทยกลับสู่การปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตยตามรูปแบบที่ผ่านการเลือกตั้งและจัดตั้ง
               รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง การเชิญหน่วยงาน UNDP มาบรรยายในครั้งนี้ไม่เพียงเน้น
               การแก้ไขปัญหาทั้งสองอย่างนี้แต่เป็นการหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรด้วย
               โอกาสนี้ไม่เพียงแต่มีความสำคัญกับองค์กรของผมแต่สำหรับตัวผมเองเพราะผมต้องการ
               สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ประเภทของนโยบายและ

               การแทรกแซงที่อาจจำเป็นในประเทศไทยเพื่อลดความไม่เท่าเทียมและเสริมสร้างประชาธิปไตย
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75