Page 71 - kpi21190
P. 71

71



                       ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน การตั้งคำถามเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันในสังคมซึ่งเป็นหัวใจ

                  ของการทำงานของหน่วยงาน UNDP จากที่ได้เห็นการร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งของวิสัยทัศน์
                  ระดับชาติที่ประเทศไทยกำหนดขึ้นเพื่อการพัฒนาในประเทศและมุ่งมั่นที่จะได้รับการรับรอง
                  กรอบการพัฒนาในระดับสากล  ขอชี้แจงอีกด้านหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนา 20 ปีของ
                  ประเทศไทยที่มีวิสัยทัศน์ในการบรรลุความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง และการพัฒนาอย่าง

                  ยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การลดความไม่เท่าเทียม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 กลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์
                  หมายเลข 4 เรื่อง “โอกาสและความเท่าเทียมในสังคม” และแม้ว่าประชาธิปไตยไม่ได้กล่าว
                  อย่างชัดเจนในกลยุทธ์นี้หลักการของการเสริมอำนาจประชาชนและรัฐบาลจะถูกเน้นเป็นเรื่อง
                  วิธีการและวัตถุประสงค์ของวิสัยทัศน์ของนโยบายระยะเวลา 20 ปีนี้ อีกอย่างในระดับโลกวาระ

                  ปีค.ศ. 2030 และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ ที่รับรองโดยสมาชิก
                  สหประชาชาติทั้งหมดรวมถึงประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าความไม่
                  เท่าเทียมกันเป็นความท้าทายที่สำคัญและประชาธิปไตยเป็นเป้าหมายที่จำเป็นอย่างชัดเจน
                  ย่อหน้าที่ 3 และ 4 ของการประกาศแถลงการณ์อย่างเป็นทางการสำหรับวาระปี ค.ศ. 2030

                  ระบุไว้ว่า “การแก้ไขความยากจนเพื่อยุติความหิวโหยทุกหนทุกแห่ง เพื่อต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม
                  ภายในและระหว่างประเทศจะดำเนินจนกระทั่งปี พ.ศ. 2573 เพื่อสร้างสังคมที่สงบเป็นธรรม
                  และครอบคลุมการปกป้องสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมความเท่าเทียมกันในทุกเพศพร้อมกับ
                  เสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปกป้องโลกและทรัพยากร

                  ธรรมชาติที่ยั่งยืน การแก้ไขครอบคลุมไปถึงเงื่อนไขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและ
                  ความยั่งยืนครอบคลุมไปถึงการแบ่งปันความเจริญรุ่งเรือง การทำงานที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน
                  โดยคำนึงถึงระดับการพัฒนาและขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ขณะที่การเดินทาง
                  ที่ยิ่งใหญ่เริ่มต้นหน่วยงานของเรารับประกันว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง การคำนึงถึงศักดิ์ศรี

                  ของมนุษย์เป็นเป้าหมายพื้นฐานสำหรับทุกประเทศ ทุกคนและทุกส่วนของสังคมจะต้องมี
                  ส่วนร่วมในการทำงานเพื่อพยายามให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสโดยไม่มีคนที่ถูกทิ้งอยู่ข้างหลังและ
                  เราต้องพยายามดูแลผู้ที่อยู่ไกลที่สุดจากมาตรฐานความเป็นอยู่ในสังคมก่อนคนอื่น”

                       นอกจากนี้วาระในปี ค.ศ. 2030 ที่บรรจุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ประการ

                  รวมถึงเป้าหมายประการที่ 10 เพื่อลดความไม่เท่าเทียมภายในและระหว่างประเทศและ
                  เป้าหมายที่ 16 ที่มุ่งเน้นสันติภาพและความยุติธรรมจากสถาบันต่างๆ ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้
                  จากที่ได้เห็นกรอบสองข้อนี้ยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งชาติระยะเวลา 20 ปีของประเทศไทย
                  และวาระในปี 2030 เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยเน้นฉันทามติของหลาย ๆ กลุ่มเกี่ยวกับ          Keynote Speaker

                  ความสำคัญและความถูกต้องของประเด็นที่เรากำลังพูดคุยเรื่องความไม่เท่าเทียมกันและระบอบ
                  ประชาธิปไตย ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านความไม่เสมอภาค การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                  เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเป็น
                  ไปได้ที่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)จะไม่สำเร็จ หากเราไม่ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้

                  อย่างเร่งด่วน วัตถุประสงค์ของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเป็นการย้ำเตือนความเอาจริงเอาจัง
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76