Page 164 - kpi21190
P. 164

164



               ทฤษฎี ถ้าเหลื่อมล้ำมาก ประชาธิปไตยจะน้อย คนรวยเข้าถึงอำนาจรัฐมากกว่า มีบทบาท

               ในการกำหนดนโยบายมากกว่า ซึ่งอำนาจนำไปสู่การขัดขวางระบบภาษี การใช้จ่ายรัฐ คนรวย
               อาจยึดสื่อ นักการเมืองตอบสนองคนรวยมากกว่า ซึ่งจะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่ไม่แท้ หรือคน
               ระดับล่างจะมีการมีส่วนร่วมน้อยกว่า คนระดับล่างจะมีข้อจำกัด เนื่องจากจน ต้นทุนการเข้าไป
               มีส่วนร่วมแพง


                     ประชาธิปไตยมีผลต่อความเหลื่อมล้ำอย่างไร เราเชื่อว่า จะลดความเหลื่อมล้ำเพราะ
               น่าจะเป็นความต้องการของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง คือ ถ้าสังคมเหลื่อมล้ำ แล้วเรามีประชาธิปไตยแท้
               ก็น่าจะโหวตไปในทิศทางลดความเหลื่อมล้ำ หลักฐานเชิงประจักษ์บอกว่าไม่จริงเสมอไป
               ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้การันตรีว่าประเทศนั้นจะมีความเหลื่อมล้ำน้อยเช่น สิงคโปร์

               คนขับแท็กซี่สิงคโปร์ ไม่คิดว่าเป็นสังคมที่เหลื่อมล้ำอย่างไม่ชอบธรรม เพราะฉะนั้น ผู้มีสิทธิ
               เลือกตั้ง เวลาเข้าสู่คูหาเลือกตั้ง เขาจะไม่เรียกร้องนโยบายที่ไปลดความเหลื่อมล้ำมากนัก เรามี
               ทฤษฎีว่าคนชั้นกลางคือคนที่ขับเคลื่อนประชาธิปไตย เป็นเสียงของระบบประชาธิปไตย แต่คน
               ชั้นกลางหลายภาคส่วนไม่ชอบนโยบายที่ลดความเหลื่อมล้ำ เช่น ถ้าเรามีนโยบายแจกเงิน

               คนจน คนที่ลุกขึ้นมาต่อต้านคือ คนชั้นกลาง ทั้งที่นโยบายนี้อาจเป็นนโยบายช่วยลดความ
               เหลื่อมล้ำ หรือคนรวยมายึดประชาธิปไตย หน้าฉากจะดูเป็นประชาธิปไตย แต่หลังฉากอำนาจ
               ยังคงกระจุกตัว อยู่ในมือคนที่เป็นคนรวย ผ่านกระบวนการออกกฎหมาย กระบวนการต่าง ๆ
               ทั้งหมดที่มันเกิดขึ้นอย่างนี้ได้ เพราะประชาธิปไตยยังไม่มีคุณภาพ


                     คุณภาพประชาธิปไตยพิจารณาอย่างไร ยกตัวอย่างงานวิจัยสองเรื่องที่ธนาคารแห่ง
               ประเทศไทยจัดงานประจำปีขึ้นมา มีงานวิจัยชิ้นแรก งานวิจัยของ ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์
               ได้ทำการสำรวจ ถามคนรวยกับคนจน คุณคิดว่าคุณมีอำนาจในการเปลี่ยนกฎหมายได้หรือไม่

               คนรวยตอบว่า เขาเชื่อว่า เขาทำได้ คนจนตอบว่า เขาเชื่อว่า เขาทำไม่ได้ สิ่งที่คนจนตอบคือ
               หน้าที่เขา คือ เคารพกฎหมายอย่างเดียว เขาไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดกติกา หรือ
               กฎหมาย งานวิจัยชิ้นที่ 2 การผูกขาดในระบบธุรกิจของไทย มีการผูกขาดมากขึ้นเรื่อย ๆ โดย
               กลุ่มทุนขนาดใหญ่ กลุ่มนี้คือ กลุ่มที่มีกำไรมากขึ้นๆ และมักจะเกิดขึ้นในบริษัทเก่า ๆ ดั้งเดิม
               ไม่มีหน้าใหม่ขึ้นมา กลุ่มทุนคือกลุ่มคนรวย คือกลุ่มที่กำหนดกติกาได้ หนึ่งในกติกาที่เขา

               กำหนดคือ กติกาว่าด้วยการแข่งขัน กำหนดกติกาที่ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขัน ทำให้การแข่งขัน
               น้อยลง

                     ถ้าจะทำให้ประชาธิปไตยมีคุณภาพ ควรพิจารณา กระบวนการสร้างพลังประชาชน
               (people empowerment) เป็นกระบวนการที่ทำให้อำนาจ เริ่มไหลไปสู่ ประชาชนมากขึ้น

               มีหลักคิด 5 ข้อ
        การอภิปราย   choice) เป็นหลักพื้นฐานของประชาธิปไตยเช่น คนที่อยู่ในเขตชนบท ในพื้นที่ป่าอุทยาน
                     1. มีการรับประกันว่าทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐาน ในการเลือกและการกระทำ (freedom of
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169