Page 165 - kpi21190
P. 165
165
แห่งชาติ แต่กฎหมายมาประกาศในภายหลัง วิถีชีวิตที่เป็นอยู่กลายเป็นผิดกฎหมายไป
เสรีภาพในการเลือกของเขาหายไป
2. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อชีวิตของเขา ควบคู่
กับการกระจายอำนาจสู่ชุมชน
3. สังคมจะต้องยอมรับในศักยภาพและความสามารถของทุกคน ไม่ควรเชื่อวาทกรรมว่า
โง่ จน เจ็บ คือ คนจน เป็นคนที่โง่ เป็นคนตัดสินใจอะไรผิด เราควรไปเข้าใจชีวิตเขาก่อนว่า
มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และเสริมศักยภาพ เสริมพลังของเขาให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ได้ถูกต้อง
4. จะต้องจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ สำหรับกระบวนการสร้างพลังประชาชน
ทั้งงบประมาณ และองค์ความรู้
5. ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (leave no one behind) ต้องศึกษาอย่างจริงจังว่าคนไทย
กลุ่มไหนบ้างที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรือมีคนไทยกลุ่มไหนบ้างที่ทุกวันนี้ยังไม่ถูกทอดทิ้ง แต่ก็จะ
ถูกทิ้ง และสุดท้ายต้องออกมาตรการว่าจะเข้าไปดูแลกลุ่มนี้อย่างไร
ต้องสร้างบรรยากาศและความรู้สึกให้ คนรวย คนจนอยู่ภายใต้ความรู้สึกเข้าใจกัน
อยากจะอยู่ร่วมกัน เช่น สวีเดน เป็นประเทศที่คนรวย คนจน อยู่ด้วยกันได้อย่างเป็นสุข
คนรวยพร้อมจะจ่ายภาษี เสียภาษีแพง ๆ เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ ดูแลคนทุกคนตั้งแต่เกิด
จนตาย แต่ทำไมคนรวยในสังคมไทยบางคน ไม่อยากเสียภาษีแพงเนื่องจากกลัวการคอร์รัปชัน
เงินภาษี และการสร้างสังคมให้เท่าเทียมกัน สามารถสร้างการมีส่วนร่วม ด้วยการนำเทคโนโลยี
มาใช้ เป็นการมีส่วนร่วมแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-participation) เพื่อลดต้นทุนของประชาชน การอภิปราย