Page 159 - kpi21190
P. 159

159















                                           ความเหลื่อมล้ำ
                                          ด้า อำ า   มิติ  หมาย


                                                                               บรรเจิด สิงคะเนติ*








                                     กฎหมายที่วางหลักพื้นฐานทั้งหลาย คือ รัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญ
                              ไม่ใช่กฎหมายเดียวแต่เป็นกฎหมายที่วางหลักใหญ่ของโครงสร้างอำนาจ การจะ

                            ลดความเหลื่อมล้ำต้องสร้างดุลยภาพในส่วนต่างๆ การจะปรับความสัมพันธ์
                          เชิงอำนาจ คือต้องปฏิรูปดุลยภาพอำนาจ

                             ความเหลื่อมล้ำในเชิงมิติทางการเมือง ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ
                      ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา มีประเด็นพิจารณาคือ รัฐบาลผสมหลายพรรคการเมืองหรือ

                    รัฐบาลที่มีพรรคจำนวนน้อยในการบริหารประเทศ

                         ถ้ารัฐบาลประกอบด้วยหลากหลายพรรค อาจจะไม่มีเอกภาพ ขณะเดียวกันถ้ารัฐบาล
                  มีความเข้มแข็งมาก รัฐบาลอาจจะควบคุมสภา จากปัญหาพื้นฐานนี้มีความพยายาม

                  ในการปฏิรูปรัฐสภา เช่น ประเทศเยอรมนี เพราะระบบรัฐสภา ของเยอรมนีเป็นระบบอำนาจ
                  เดียวที่นำไปสู่เผด็จการรัฐสภา ท้ายที่สุดสร้างศาลรัฐธรรมนูญให้มาถ่วงดุลกับเสียงข้างมาก
                  ระบบรัฐสภา นำไปสู่การถ่วงดุลและเกิดดุลยภาพของระบบรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญมีความ
                  เป็นกลาง และอิสระ ในประเทศไทยมีความพยายามปฏิรูป ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 พยายามสร้าง

                  องค์กรตรวจสอบถ่วงดุล องค์กรตรวจสอบถ่วงดุล พ.ศ. 2540, 2550, 2560 เราสร้างองค์กร
                  ถ่วงดุลแต่เราไม่ได้ให้ฝ่ายข้างน้อย สามารถใช้กลไกนั้นได้จริง การเขียนรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
                  รัฐบาลต้องมีความเข้มแข็งเพื่อดำเนินนโยบายได้ แต่ขณะเดียวกันต้องมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุล



                    *  ศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164