Page 12 - kpi20899
P. 12
“การถอดบทเรียนชุมชนเพื่อการปฏิรูปกระบวนการจัดการทรัพยากร : พลวัตแห่งการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน ้า
ในพื นที่ต้าบลหนองพันจันทร์ อ้าเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี” โดย ดร.ปริชัย ดาวอุดม และนายเจษฎา เนตะวงศ์
บทที่ 1
บทน้า
1.1 ที่มาและความส้าคัญของปัญหา
หากเรานิยามความหมายของค้าว่าการเมืองในความหมายอย่างกว้าง “การเมือง” ก็คือ การจัดสรร
สิ่งมีค่าในสังคม เป็นกิจกรรมที่บอกให้รู้ว่าใคร จะได้อะไร เมื่อใดและอย่างไร เมื่อนิยามความหมายเช่นนี้
การเมืองก็นับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจ้าวันของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่ตื่นนอน
กระทั่งแม้เวลานอนหลับ การเมืองจึงเป็นเรื่องใกล้ตัว กล่าวคือที่ใดมีสิ่งมีค่าหรือทรัพยากร ที่นั่นย่อมต้องมี
ระบบเข้ามาจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้หากมองในแง่ดีก็คือเพื่อความสงบสุขที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการแย่งชิง
ทรัพยากร แต่ในอีกมุมหนึ่งระบบจัดสรรดังกล่าวก็สามารถจัดสิ่งมีค่าจากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่คนอีกกลุ่มหนึ่ง
อย่างไม่เป็นธรรมได้เช่นกัน ระบบจัดสรรผลประโยชน์ดังกล่าวก็คือระบบการเมืองที่มนุษย์ไม่อาจหลีกหนี
ตราบใดที่ยังต้องรวมกันอยู่เป็นสังคม ดังนั้นเมื่อชุมชนใดหรือสังคมใดต้องการจัดสรรทรัพยากรให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดจึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
ทว่าในสังคมไทยเรานั้นค้าว่าการเมืองถูกท้าให้ออกห่างจากวิถีชีวิต การเมืองกลายเป็นเรื่อง
ระดับชาติในความเข้าใจของประชาชน เป็นกิจกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยกลไกต่างๆ อันจะน้าไปสู่การ
ได้อ้านาจการปกครองระดับรัฐ เมื่อพูดถึงการเมืองผู้คนในสังคมไทยจึงคิดว่าเป็นสิ่งไกลตัว ประกอบกับการ
ขยายตัวของภาครัฐตลอดห้วงเวลาของการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ท้าให้บรรดาทรัพยากรทั้งหลายที่เคย
เป็นของประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น ตกอยู่ในอ้านาจการบริหารจัดการของรัฐ หน่วยงานรัฐทั้งระดับ
ท้องถิ่นและภูมิภาค ได้เข้าไปอาสาท้าแทนจนท้าให้ประชาชนขาดอ้านาจในการบริหารจัดการทรัพยากร
ด้วยตนเอง ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ประชาชนในชุมชนควรที่จะสร้างสรรค์ระบบใน
การจัดสรรของตนเองขึ้นมาเพื่อการมีส่วนร่วมและการรับประโยชน์ร่วมกัน อันเป็นกระบวนการที่ชุมชน
สามารถจะปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาและข้อขัดข้องต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการ
ประชาธิปไตยของชุมชน
น้้าถือเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความส้าคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ เป็นปัจจัยส้าคัญต่อ
การหล่อเลี้ยงชีวิตและขับเคลื่อนสังคม มนุษย์ได้มีการน้าทรัพยากรน้้าจากแหล่งต่างๆ ทั้งน้้าฝน น้้าผิวดิน
หรือน้้าใต้ดินมาใช้ประโยชน์เป็นปัจจัยพื้นฐานของการด้ารงชีวิต เช่น การอุปโภค บริโภค ใช้ในการ
เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือใช้ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าการพัฒนา
11