Page 271 - kpi20858
P. 271
228
ทิวทัศน์ ซึ่งแสดงให้เห็นทิศทางการน าสายตา เพื่อก าหนดมิติความลึกลวงในภาพ นอกจากนี้ยัง
ปรากฏว่ามีการใช้หลักการทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศร่วมด้วย ระยะที่ปรากฏในผลงานโดยเฉพาะที่
ระยะหลังของภาพทุกห้องน าเสนอด้วยฉากทิวทัศน์ธรรมชาติ เส้นขอบฟ้าซึ่งอาจเป็นพื้นดินหรือผืนน ้า
บรรจบกับท้องฟ้า โดยมีบรรยากาศของความพร่าเลือน ด้วยการเบลอเส้นขอบวัตถุ และการแทรก
บรรยากาศของสีราวกับถูกปกคลุมด้วยม่านหมอก อีกทั้งในส่วนของการแสดงรูปทรงที่ทับซ้อนกัน ยัง
ส่งผลให้เกิดระยะได้อีกประการหนึ่ง
จากการศึกษามุมมองของภาพ พบว่าภาพเขียนบางห้องของจิตรกรบางคน ยังมีการ
น าเสนอทัศนียวิทยาที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการ กล่าวคือ มีมุมมองพิสดารไม่สอดคล้องไปกับความ
เป็นจริง ทั้งนี้สามารถตั้งข้อสันนิษฐานโดยอ้างอิง วิทย์ พิณคันเงิน ที่ได้กล่าวถึงความไม่ถูกต้องของ
ทัศนียวิทยาในสถาปัตยกรรมแห่งนี้ไว้ว่า พระเทวาภินิมมิตผู้เป็นแม่กองได้ร่างภาพสถาปัตยกรรม
ลงบนกระดาษไว้จ านวนหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแบบให้แก่ช่างเขียน น าไปใช้ขยายและเขียน
ลงบนผนังตามความรับผิดชอบของแต่ละคน เมื่อช่างที่น าไปใช้ขาดความเข้าใจในหลักทัศนียวิทยา
จัดวางรูปสถาปัตยกรรมเหล่านั้น ส่งผลท าให้มีมุมมองที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ข้อสันนิษฐาน
นี้มีความสมเหตุผล เนื่องจากเมื่อพิจารณารูปทรงที่พระเทวาภินิมมิตได้ร่างขึ้น ดังปรากฏในหนังสือ
สมุดภาพ เทพ มนุษย์ ยักษ์ ลิง สอดคล้องกับรูปทรงที่ปรากฏบนจิตรกรรมที่พระระเบียง ที่มีการ
น าเสนอเหมือนกับต้นแบบทุกประการ
ด้านการลงสี และแสงเงา ในงานจิตรกรรมที่พระระเบียงแห่งนี้ อาจมีความคลาดเคลื่อนได้
บ้าง เนื่องจากภายหลังจากการเขียนภาพเมื่อครั้งรัชกาลที่ 7 มีการซ่อมใหญ่ในรัชกาลที่ 9 ถึง 2 ครั้ง
เป็นอย่างน้อย โดยมีบางห้องที่ถูกลบและเขียนขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 9 เช่น ห้องที่ 159-161
อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์ ประทีป สว่างสุข จิตรกรผู้เคยซ่อมภาพเขียน เมื่อการซ่อมใหญ่ครั้ง
ที่ 2 ได้กล่าวถึงแนวทางของการซ่อมภาพเขียนที่พระระเบียงว่า เป็นการซ่อมสีซึ่งกะเทาะหลุดร่อน
โดยวาดเติมลงไปในพื้นที่นั้น และแสดงลักษณะบางประการว่าเป็นการซ่อมสีตามหลักการอนุรักษ์
และซ่อมสงวนศิลปกรรมโบราณ ทว่ามีการซ่อมภาพเขียนที่พระระเบียงในเวลาต่อมา ดังนั้นการ
วิเคราะห์ลักษณะการใช้สี และแสง-เงา ในบทนี้จึงอาจเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้ อย่างไร
ก็ตามสามารถสรุปแนวทางการวิเคราะห์ สี และการก าหนดค่าแสงเงาที่ปรากฏในงานจิตรกรรมที่
พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ดังนี้