Page 270 - kpi20858
P. 270
227
ห้องที่ การสร้างระยะด้วยขนาดของรูปทรง การวิเคราะห์
ที่บริเวณระยะหลังของจิตรกรรม ฝีมือ
เส็ง อ่อนงามพร้อม น าเสนอภาพ
ทิวทัศน์ต้นไม้ซึ่งแสดงขนาดที่ลดหลั่น
ลงตามระยะทาง กล่าวคือ ยิ่งไกลยิ่งมี
17 ขนาดที่เล็กลง ด้วยการถ่ายทอดขนาด
ที่แตกต่าง ระหว่างวัตถุในระยะหน้า
และระยะหลัง ได้ก่อให้เกิดมิติความลึก
ลวง ที่สะท้อนภาพอย่างสมจริงตาม
ธรรมชาติ
ห้องที่ การสร้างระยะด้วยขนาดของรูปทรง การวิเคราะห์
ภาพเขียนของสง่า มะยุระ แสดงระยะ
ภายในภาพ ด้วยวิธีการทับซ้อนกันของ
รูปทรง จากภาพ หนุมานเดินน าหน้า
178 เหล่าวานรเข้าประตูกรุงศรีอยุธยา การ
ทับซ้อนกันของภาพนั้นได้ก่อให้เกิด
ระยะของกลุ่มรูปทรง โดยมีทิศทางการ
เคลื่อนไหวที่พุ่งขึ้นสู่ด้านบน
ตารางที่ 8 มุมมอง และการสร้างระยะในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
กรุงเทพมหานคร
ที่มา: ผู้วิจัย
การน าเสนอมุมมองของภาพจิตรกรรมที่พระระเบียงแห่งนี้ ยังคงมีมุมมองแบบตานกมอง
ทว่าต่างไปจากจิตรกรรมตามขนบนิยมของไทย กล่าวคือ รูปทรงของระยะหลังและระยะหน้ามักมี
ขนาดเท่ากัน แต่ที่พระระเบียงแห่งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า จิตรกรมีความค านึงถึงความถูกต้องตาม
หลักทัศนียวิทยา ที่เมื่อวัตถุอยู่ในระยะไกลออกไป ย่อมมีขนาดที่เล็กลง ทั้งนี้สามารถพบเห็นการ
สร้างระยะโดยอาศัยหลัทัศนียวิทยาเชิงเส้นได้จาก เส้นของสถาปัตยกรรมต่างๆ ตลอดจนฉาก