Page 268 - kpi20858
P. 268

225





                              ทั้งนี้จากการส ารวจการจัดวางท่าทางของรูปทรง ในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัด
                       พระศรีรัตนศาสดารามนั้น สอดคล้องกับภาพร่างลายเส้นที่ปรากฏในหนังสือสมุดภาพ เทพ มนุษย์

                       ยักษ์  ลิง  เขียนโดยพระเทวาภินิมมิต  หลายผนัง  ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า  นอกจากพระเทวา

                       ภินิมมิตจะมีบทบาทเป็นผู้ก าหนดฉากตอนแล้ว  ยังเป็นผู้ร่างภาพลายเส้น  เพื่อให้จิตรกรน าไปใช้

                       ขยาย และเขียนลงบนพระระเบียง ทั้งนี้สอดคล้องกับ วิทย์ พิณคันเงิน ที่เคยให้สมัภาษณ์ไว้ในเรื่อง
                       ที่กล่าวถึงว่า  พระเทวาภินิมมิตนั้นเป็นผู้ร่างรูปทรงต่างๆ  เพื่อให้ช่างผู้ที่ต้องการน าภาพไปใช้เป็น

                       แบบในการสร้างจิตรกรรมที่พระระเบียงแห่งนี้  จากภาพการจัดท่าทางของยักษ์  โดยพระเทวา

                       ภินิมมิต ในฉากตอนชามพูวราชส าแดงเดช แม้สว่าง ปัญญางามจะน ามาใช้เสนอฉากตอนขณะที่

                       ก้อนหิน  ซึ่งเกิดจากการประลองก าลังของกองทัพลิง  ตกที่กรุงลงกา  เมื่อก้อนหินหล่นลงตรงหน้า
                       ยักษ์ต้องผงะด้วยความตกใจ สามารถปลุกเร้าภาวะตื่นตะลึงแบบสมจริงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้

                       การจัดท่าทางให้พระโคก้าวขาและบิดเอี้ยวหัวกลับมาสบตากับนิลพัท  เผยให้เห็นร่องรอยย่นของ

                       ผิวหนังที่คอของพระโคอย่างเป็นธรรมชาติ  อีกทั้งมีการเขียนกล้ามเนื้อแต่พองาม  สื่อถึงร่างกายที่

                       แข็งแรงสมบูรณ์  แต่แฝงเร้นจิตวิญญาณของศิลปะตามขนบด้วยลีลาของเส้นอันอ่อนหวาน  มีลีลา

                       ตามแบบฉบับของการสร้างงานเชิงอุดมคติซึ่งผสานความสมจริงเข้าไว้ด้วยกัน

                              ด้านการน าเสนอมุมมอง  แม้จะมีการน าเสนอภาพมุมสูงแบบตานกมองคล้ายกับจิตรกรรม

                       ตามขนบนิยม แต่ทว่าเป็นไปในแบบจิตรกรรมตะวันตก คือมีการแสดงระยะใกล้ไกล สร้างบรรยากาศ

                       ให้เกิดความลึกลวง  ตลอดจนสร้างจุดลับสายตาซึ่งเลือนหายไปที่เส้นขอบฟ้าในระยะหลัง  พร้อมกัน
                       นั้นยังมีการสร้างความลดหลั่นของขนาดวัตถุเมื่ออยู่ในระยะที่ไกลออกไปอีกประการหนึ่ง  ดังนั้นเมื่อ

                       กล่าวถึงมุมมอง สามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการสร้างระยะภายในภาพจิตรกรรม ได้ดังนี้


                                                      มุมมอง และการสร้างระยะ

                        ห้องที่     การสร้างระยะด้วยหลักทัศนียวิทยาเชิงเส้น          การวิเคราะห์



                                                                            ตอนหนุมานหลอกให้ทศกัณฐ์ออกรบ

                                                                            โดย ร.ต.อ.เปรื่อง แสงเถกิง น าเสนอ
                                                                            สถาปัตยกรรมของกรุงลงกาด้วยทัศนีย
                         106                                                วิทยาเชิงเส้น โดยมีมุมมองแบบตาน

                                                                            กมอง มีจุดรวมสายตาอยู่ที่เบื้องซ้าย

                                                                            ของภาพ เส้นเหล่านี้ก าหนดให้เกิดมิติ
                                                                            ความลึกของภาพ
   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272   273