Page 310 - kpi20767
P. 310
285
5. หลักความรับผิด
กรมบังคับคดีด าเนินการตามหลักความรับผิด กล่าวคือ ความสามารถในการตอบ
ค าถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย ความรับผิดชอบในผลงาน หรือปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุผลตาม
เป้าหมาย ตามพันธกิจ รวมทั้งการตอบสนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ ยอมรับผลที่เกิดขึ้นจาก
การปฏิบัติงานความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบได้ เช่น การจัดท าขั้นตอนการบังคับคดี คู่มือผู้ซื้อทรัพย์
ขายทอดตลาด การมีสายตรงผู้บริหาร เป็นต้น ดังเช่น นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับ
คดี น าคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีประกาศเจตจ านงในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์
สุจริต เป็นธรรมและโปร่งใส พร้อมร่วมแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านคอรัปชั่น ณ ลานอเนกประสงค์ กรม
บังคับคดี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ที่ว่า
“...1. บริหารงานด้วยความโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาลด้วยความเป็นธรรม และ
จริยธรรม 2. การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกคนตามกฎระเบียบ ความรับผิดชอบ ตาม
บทบาท หน้าที่ของตนอย่างเต็มใจและเต็มประสิทธิภาพ 3. มุ่งมั่นปฏิบัติงานตามาตรฐาน
หรือขั้นตอนการให้บริการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ เมื่อได้รับการเสนอเงื่อนไข
พิเศษหรือจูงใจ เพื่อให้ได้มา ซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน 4. ไม่ยอมรับพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชัน
และไม่ทนต่อทุจริตที่ก่อให้เกิดการลงโทษทางสังคม อันจะส่งผลให้บุคลากรในกรมบังคับคดี
เกิดความละอายหรือความกลัวที่จะกระท าการทุจริตคอร์รัปชัน 5. มุ่งบริหารงานโดยยึดหลัก
ธรรมาภิบาลและร่วมกันสร้างวัฒนธรรมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร และจะบริหาร
งบประมาณด้วยความโปร่งใสคุ้มค่า ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและพร้อมแสดง
ความรับผิดหากปฏิบัติงานส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อสังคมโดยรวม ทั้งนี้ กรม
บังคับคดีมุ่งมั่นพัฒนา ใส่ใจในความสะดวกของประชาชนเพื่อให้เข้าถึงบริการของกรมบังคับ
คดีได้อย่างทั่วถึง และแสดงถึงความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของกรมบังคับคดีต่อไป”
(ผู้ให้สัมภาษณ์ 4)
6. หลักความคุ้มค่า
กรมบังคับคดีมีการด าเนินงานตามหลักความคุ้มค่า กล่าวคือ ในการปฏิบัติราชการ
ต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ
ส่วนรวม ต้องมีการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออ านวยความสะดวก และลดภาระ
ค่าใช้จ่าย น าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงาน ตลอดจนยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและ