Page 119 - kpi20542
P. 119
ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเป็นผู้สนับสนุน แต่การทำกิจกรรมของผู้สูงอายุนั้นไม่บ่อยนักที่ผู้สูงอายุ
จะมารวมตัวกันหรือมีเวทีที่ให้ได้พูดคุยกัน กล่าวคือ ใน 1 ปีจะมีกิจกรรมร่วมกันเพียง 1-2 ครั้ง
เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมให้ความรู้ ส่งเสริมทักษะอาชีพ แต่ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง
ในขณะนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่เองก็ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินการเกี่ยวกับ
ผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ได้กล่าวว่า
“การดำเนินการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ทางอบต.เองก็ยังไม่ชัดเจน ตอนนั้นไม่รู้จัก
คำว่าสังคมผู้สูงอายุ ยังไม่เป็นสังคมผู้สูงอายุ ไม่ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
อย่างจริงจัง อบต.เพียงแต่ทำตามอำนาจหน้าที่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เราให้ ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
ความสำคัญกับกลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี เด็กเยาวชนมากกว่า ไม่ได้มองถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการพูดถึงสังคมผู้สูงอายุ ทาง อบต.ก็เริ่มมีการ
ตระหนักถึงเรื่องนี้มากขึ้น”
2. ประกาศจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ภายหลังจากการพูดคุย กับประชาชนในพื้นที่
เพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการแล้วนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่จึงประกาศ
จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุนาพู่ และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนผู้สูงอายุให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ ซึ่งในระยะแรกการดำเนินโครงการกำหนดวัตถุประสงค์เพียงเพื่อแก้ปัญหา
โรคซึมเศร้า แต่ระยะต่อมาทางอบต.ก็ได้ตระหนักถึงเรื่องสุขภาพด้านอื่นๆ ของผู้สูงอายุ จึงเริ่มให้
ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยโรงเรียนผู้สูงอายุนาพู่ มี
การแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ปริญญาชีวิตระดับตรี 2) ปริญญาชีวิตระดับโท
3) ปริญญาชีวิตระดับเอก
3. คณะกรรมการฯ ออกแบบหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ
เอกชน และประชาสังคม เพื่อใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ และเป็นแนวทาง กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
การขับเคลื่อนโรงเรียนผู้สูงอายุนาพู่ โดยหลักสูตรประกอบด้วย 4 หลักสูตร ดังนี้
สถาบันพระปกเกล้า 11