Page 114 - kpi20542
P. 114

2.  กิจกรรมส่งเสริมฟื้นฟู ดูแลสุขภาพ เป็นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
            ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                                มีการประสานกับภาคีเครือข่ายมาช่วยจัดกิจกรรม เช่น ร่วมกับโรงพยาบาล

                                ส่งเสริมสุขภาพตำบลจัดกิจกรรมต้มน้ำสมุนไพรแช่เท้า ร่วมกับคณะพยาบาล
                                มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดกิจกรรมใส่ใจข้อเข่าโดยใช้สมุนไพรในบ้านมาประคบเข่า
                                เป็นต้น


                              3.  อู๋กั๋นม่วน จวนกั๋นเล่า เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้สูงอายุมาเล่าเรื่องในอดีต มาพูดคุย
                                แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันถึงเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีต

                              4.  กิจกรรมอาหารไทย สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้สูงอายุนำวัตถุดิบที่มี

                                ในครัวเรือนมาทำอาหารรับประทานในศูนย์ฯ ซึ่งจะเน้นการทำอาหารที่สะอาด
                                ถูกสุขลักษณะ และดีต่อสุขภาพ

                              5.  กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดเป็น

                                กิจกรรม เช่น ในช่วงเทศกาลก็จะมีการจัดกิจกรรมทำตุง โดยเชิญวิทยากร
                                มาสอนผู้สูงอายุทำตุง ซึ่งวิทยากรก็มาจากคนในพื้นที่ การทำเครื่องสืบชะตา
                                โดยใช้ปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นวิทยากร เป็นต้น และ

                              6.  กิจกรรมนันทนาการ งานอดิเรก เป็นการพาผู้สูงอายุไปทัศนศึกษาในพื้นที่
            กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                                ใกล้ ๆ เช่น สวนสัตว์ บ่อน้ำพุร้อน เป็นต้น

                          4) ประเมินผลการดำเนินงาน คณะกรรมการศูนย์ฯ จะประชุมเป็นประจำทุกเดือน
                  เพื่อแจ้งรายรับรายจ่ายของศูนย์สู่สาธารณะ รวมทั้งจะประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของศูนย์

                  เป็นประจำทุก 3 เดือน เพื่อให้การดำเนินการของศูนย์บรรลุเป้าหมายตามคำขวัญของศูนย์ฯ
                  ที่ว่า “สร้างสุข สูงวัย ใส่ใจคุณภาพชีวิต”

                        เทศบาลตำบลยางเนิ้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของ

                  ภาคประชาสังคม ทั้งเยาวชน ประชาชนผู้มีจิตอาสา อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
                  คณะกรรมการชุมชน และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ สถานศึกษา โรงพยาบาล และวัด
                  ประกอบกับภาคประชาสังคมได้กลายเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนงานและสามารถพึ่งพาตนเอง

                  ได้เพราะมีแหล่งทรัพยากรและงบประมาณหลายแห่ง ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความยั่งยืน
                  ที่สำคัญ การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และ

                  ร่วมประเมินผล ยังก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ครอบคลุมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่ม
                  ติดบ้าน ติดสังคม และติดเตียง รวมทั้งยังสามารถจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม
                  กับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ตรงจุดและตรงใจผู้สูงอายุ ครอบครัว และ

                  ชุมชน ชาวตำบลยางเนิ้งจึงได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการร่วมสร้างสังคมผู้สูงอายุที่มีสุข



                10    สถาบันพระปกเกล้า
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119