Page 53 - kpi20470
P. 53

2. เสริมสร้างความเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่น : ผลการสำรวจประชาธิปไตยท้องถิ่นได้ชี้ให้
                        เห็นว่า ที่ผ่านมาเรามุ่งเน้นการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยในภาพรวม แต่สิ่งที่ขาดหาย
                        ไปนั้นคือ การส่งเสริมให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของชุมชน (sense of ownership) เพราะชุมชน

                        ท้องถิ่นเป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ้านเกิดที่จะต้องหวงแหนรักษาและรับผิดชอบ ตลอดจนเป็นสิ่งใกล้ตัวและ   รายงานสถานการณ์
                        กระทบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง ซึ่งการเสริมสร้างความเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่น

                        เป็นสิ่งที่คนในชุมชนสามารถสร้างขึ้นได้ อีกทั้งยังเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชุมชนอีกด้วย โดยองค์กรปกครอง
                        ส่วนท้องถิ่นอาจใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา
                        ของชุมชน เพื่อให้ผู้คนในท้องถิ่นรู้สึกผูกพัน เข้าใจชุมชน และรู้สึกถึงความเป็นชุมชนอย่างแท้จริง


                              3. นวัตกรรมการปรับตัวในยุคดิจิทัล : แม้ว่าผลการสำรวจประชาธิปไตยท้องถิ่นได้ชี้ให้เห็นว่า
                        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกวันนี้อาศัยเทคโนโลยีสื่อสารดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อการพัฒนาและส่งเสริม

                        การทำงานในหลากหลายด้าน หากแต่การใช้เทคโนโลยีก็ต้องมีความสอดคล้องกับบริบทความเป็นชุมชน
                        ท้องถิ่น สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นำเทคโนโลยีแบบใหม่มาใช้ก็จะต้องจัดการเรียนการสอน/
                        จัดอบรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับประชาชนด้วย เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่าง

                        ถูกต้อง ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึงและ
                        เท่าเทียมกัน ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ยังไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

                        มากนัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจใช้รูปแบบการสื่อสารและเทคโนโลยีแบบเก่าเป็นหลักและใช้
                        เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นตัวเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น                                    ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย


                              4. ขับเคลื่อนความเป็นอิสระของท้องถิ่นผ่านนโยบายกระจายอำนาจ : แม้ว่าผลการสำรวจ
                        ประชาธิปไตยท้องถิ่นได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป แต่เริ่มปรากฎผล
                        ของการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตามการพัฒนา

                        ประชาธิปไตยท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดในหลายประการ เช่น ข้อจำกัดในเรื่องอำนาจหน้าที่ ความเป็นอิสระของ
                        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น

                        ข้อจำกัดและขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นทั้งสิ้น ดังนั้นประเด็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย คือ
                        การส่งเสริมนโยบายการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
                        รัฐส่วนกลางต้องสร้างกลไกการปกครองท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง ลดอำนาจรัฐส่วนกลางลง และถ่ายโอน

                        อำนาจไปสู่ท้องถิ่นให้ดำเนินการจัดบริการสาธารณะแทนรัฐต่อไป


























                                                                                                 สถาบันพระปกเกล้า   41
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58