Page 28 - kpi20470
P. 28

3.3  วิธีการวัดระดับประชาธิปไตยท้องถิ่น

            รายงานสถานการณ์   สำรวจสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นในปัจจุบันว่ามีสถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง โดยอาศัย
                          สำหรับการวัดระดับประชาธิปไตยท้องถิ่นให้เห็นในเชิงประจักษ์ในครั้งนี้ ได้เริ่มต้นจากความสนใจ



                     การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นบุคลากรที่เป็นตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                     ทั่วประเทศ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินระดับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นในมิติต่างๆ ซึ่งมี

                     รายละเอียดของระเบียบวิธีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้
                                                                    12
                          Ä กลุ่มประชากรเป้าหมาย

            ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
                            สำหรับหน่วยในการสำรวจครั้งนี้ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 7,852 แห่ง
                     โดยในการตอบแบบสอบถามนั้นได้ขอความร่วมมือในการกรอกข้อมูลจากบุคลากรสังกัดองค์กรปกครอง
                     ส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยมีตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งละ 1 คน ได้แก่ ปลัด รองปลัด หรือ

                     ผู้อำนวยการฝ่าย/กอง/สำนัก ซึ่งดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
                     เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม


                          Ä เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ

                            การสำรวจสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นในครั้งนี้ ได้แบ่งกระบวนการดำเนินงาน
                     ออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม


                            (1) การสำรวจข้อมูล ใช้แบบสอบถามความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น ประกอบด้วยข้อคำถาม
                     จำนวน 77 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 13


                                   ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8 ข้อ ประกอบด้วย ข้อมูล
                                   ผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ตั้ง จำนวนประชากร รายได้รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                                   วาระการดำรงตำแหน่งของนายกท้องถิ่น และการได้รับรางวัลในช่วง 3 ปีที่ผ่าน

                                   ส่วนที่ 2 ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย
                                   ท้องถิ่น ในมิติความเป็นสถาบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 35 ข้อ ประกอบด้วย

                                   ข้อคำถามด้านความเป็นตัวแทน ข้อคำถามด้านความเป็นมืออาชีพ และข้อคำถามด้าน
                                   การส่งเสริมความเป็นพลเมือง


                                   ส่วนที่ 3 ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย
                                   ท้องถิ่น ในมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 34 ข้อ ประกอบด้วย ข้อคำถามด้าน
                                   concerned citizen และข้อคำถามด้าน active citizen


                                   สำหรับข้อคำถามในส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับระดับความคิดเห็น
                                   โดยให้เลือกตอบ 4 ระดับ คือ ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยน้อย เห็นด้วยมาก และเห็นด้วยมากที่สุด


                           12   หากต้องการรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ในรายงานสำรวจระดับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น
                     (ฉบับสมบูรณ์)
                           13   ข้อมูลรายละเอียดแบบสอบถามอยู่ในภาคผนวก



                 16   สถาบันพระปกเกล้า
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33