Page 25 - kpi20470
P. 25
ดังนั้น สาระสำคัญของคำว่า ประชาธิปไตย ที่มีเหมือนกันในทุกมิติคือ หลักการให้อำนาจแก่
ประชาชน เพียงแต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้ประชาธิปไตยในระดับประเทศจึงมีความ
เชื่อมโยงกับประชาธิปไตยท้องถิ่น เพราะหากเราสามารถสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็ง
ก็จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างประชาธิปไตยระดับประเทศต่อไป รายงานสถานการณ์
3.2 ประชาธิปไตยท้องถิ่น
หากกล่าวถึงคำว่า ประชาธิปไตยท้องถิ่น ย่อมเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครอง
ที่ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจวิถีของประชาธิปไตยได้จากการเข้าไปมีส่วนร่วม
ในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดและกระทบต่อการ
9
ดำเนินชีวิตของประชาชนโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมเสนอแนะโครงการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
การเข้าร่วมประชาคมชุมชน การรวมกลุ่มเข้าชื่อถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งประเด็นเรียนรู้ที่สำคัญ
ของประชาธิปไตยท้องถิ่นนั้นประกอบด้วย 2 ประเด็น ดังนี้
1) ความเป็นสถาบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเข้าใจประชาธิปไตยท้องถิ่นจำเป็นต้อง
ตระหนักถึงหลักการอำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชน ดังที่ ยอดพล เทพสิทธิ (2558) กล่าวถึงความสำคัญของ
หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นจะต้องประกอบไปด้วยสองหลักการที่สำคัญ คือ (1) หลักการว่าด้วยการมีผู้แทน
และ (2) หลักการว่าด้วยการมีส่วนร่วม ในส่วนของหลักการว่าด้วยการมีผู้แทนนั้นถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 72
วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับสาธารณรัฐที่ 5 ได้แก่ การที่พลเมืองเลือกผู้แทนของตนเข้าไปเพื่อใช้อำนาจ ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
และผู้แทนเหล่านั้นยังต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อพลเมืองอยู่ ขณะที่การมีส่วนร่วมนั้น พลเมืองสามารถ
เข้าไปมีส่วนในการโต้เถียงสาธารณะได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือกล่าวอีก
นัยหนึ่งคือหลักประชาธิปไตยท้องถิ่นนั้น เป็นหลักการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม
ต่างๆ ของท้องถิ่น โดยถือว่าประชาชน เป็นตัวการที่สำคัญในกิจกรรมของท้องถิ่น 10
2) การมีส่วนร่วมของประชาชน การส่งเสริมประชาธิปไตยท้องถิ่นจะต้องให้ความสำคัญกับ
การมีส่วนร่วมของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้ความเป็นพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย 2 ระดับ คือ การเริ่มต้นส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในบทบาทสำคัญของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย (concerned citizen) เป็นอันดับแรก จากนั้นจึงจะพัฒนาไปสู่การเป็นพลเมืองที่เห็นแก่
11
ประโยชน์ส่วนรวม มีความกระตือรือร้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม (active citizen)
๏ ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้ (concerned citizen) ประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ
3 ประการ คือ (1) การรู้สิทธิรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง (2) การรู้จักชุมชนของตนเอง และ
(3) ความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนและเห็นแก่ประโยชน์ของชุมชน
9 ปธาน สุวรรณมงคม. (2560, มิถุนายน). ประชาธิปไตยท้องถิ่น. Retrieved from https://goo.gl/U8ut5i
10 ยอดพล เทพสิทธิ. (2558). หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นของฝรั่งเศส.
วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2558) : 123 - 145.
11 รายงานตัวชี้วัดความเป็นพลเมือง ใน โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง, สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้า, 2560.
สถาบันพระปกเกล้า 13