Page 24 - kpi20470
P. 24
๏ ความเชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ จากความคิดที่ว่า มนุษย์รู้จักใช้
เหตุผลในการใช้ชีวิตร่วมกัน ทำให้เกิดความเชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์
รายงานสถานการณ์ ความเป็นอิสระหมายถึง ความสามารถที่จะเลือกใช้ชีวิตกระทำการหรือไม่กระทำการ
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยตนเอง ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจบงการของบุคคลอื่น เนื่องจากเชื่อว่ามนุษย์
มีความสามารถที่จะใช้เหตุผลในการเลือกตัดสินใจ นั่นย่อมหมายถึงการทำให้มนุษย์
ผูกพันกับความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้วด้วย
๏ การยอมรับในความเท่าเทียมกันของคน ความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคไม่ได้
หมายถึง ความเท่าเทียมกันทางสติปัญญาหรือกายภาพเท่านั้น แต่เป็นความเสมอภาค
ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
ทางกฎหมายและทางการเมือง ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติและได้รับความคุ้มครองจาก
กฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ตลอดจนความมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองที่จะใช้ชีวิตในสังคม
อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ หรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม
2) ประชาธิปไตยในฐานะเป็นระบอบการเมืองการปกครอง (Democracy as Political system
or a Form of government)
ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ หมายถึงการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจของประชาชนและ
สถาบันต่างๆ ในการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมาย โดยมุ่งให้ประชาชนมีอำนาจ เน้นความเสมอภาคและ
ความเท่าเทียมกันของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ดังที่ Abraham Lincoln กล่าวว่า “ประชาธิปไตย
เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน (Government of the People, by the
People, for the People)” และมีความหมายเช่นเดียวกันกับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ได้ให้
ความหมายประชาธิปไตย ว่าหมายถึงรูปแบบการปกครองที่ยึดถือมติของปวงชนเป็นใหญ่
3) ประชาธิปไตยในฐานะเป็นวิถีการดำเนินชีวิต (Democracy as a way of life)
ประชาธิปไตยในประเด็นนี้เป็นสิ่งที่จับต้องได้มากที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องจนกลายเป็น
ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวัน และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน ซึ่งโดยหลักการวิถีการ
ดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตยจะยึดหลักความเสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ และเคารพศักดิ์ศรีแห่ง
ความเป็นมนุษย์ โดยยึดหลักเหตุผลในการตัดสินปัญหา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างปราศจากอคติ
ตลอดจนสนใจกิจการบ้านเมืองและเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังที่ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
นักปรัชญาและนักการศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา มองว่า ประชาธิปไตยมีความหมายที่กว้างกว่าการเป็นเพียง
รูปแบบการปกครอง หากแต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย นั่นหมายถึงการที่
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดค่านิยมพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งการมีส่วนร่วมถือ
เป็นสิ่งสำคัญในแง่ของสวัสดิภาพทางสังคมและในแง่ของการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ นอกจากนี้ ชาล์ส
8
อี เมอเรียม (C.E.Merriam) ได้มองว่า ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดและวิถีปฏิบัติที่มุ่งไปสู่ความผาสุกร่วมกัน
ของประชาชน โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนเป็นเครื่องนำทาง
8 John Dewey. On Democracy. [Online]. (n.d.). Available from: https://wolfweb.unr.edu/homepage/
lafer/dewey20dewey.html [2018, September 17]
12 สถาบันพระปกเกล้า