Page 23 - kpi20470
P. 23

3.  การวัดระดับประชาธิปไตยท้องถิ่น :


                          กรอบความคิดและการสำรวจ


                        3.1  ประชาธิปไตย                                                                                 รายงานสถานการณ์

                              คนทั่วไปมักกล่าวกันว่า “ประชาธิปไตย คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน

                        เพื่อประชาชน” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลายมากในสังคมทุกวันนี้ที่ผู้คนต่างก็เรียกร้อง
                        ความเป็นประชาธิปไตย สรุปแล้วประชาธิปไตยคืออะไรกันแน่? เราจึงลองค้นหาความหมายและสาระสำคัญ
                        ของคำว่าประชาธิปไตย กลับพบว่าประชาธิปไตยมีความหมายและสาระสำคัญที่กว้างขวาง อีกทั้ง

                        ยังเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคม

                              คำว่า ประชาธิปไตย มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Democracy ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษา

                        กรีกโบราณ คือ คำว่า Demo (หมายถึงประชาชน) + คำว่า Kratos (หมายถึงอำนาจปกครอง) เมื่อรวมกัน
                        แล้วเป็นคำว่าประชาธิปไตยที่มีความหมายถึง การปกครองที่ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจปกครองผ่านการ
                        เลือกตั้งผู้แทนให้เข้าไปทำหน้าที่และใช้อำนาจแทนประชาชน นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการจำนวนมาก

                        ได้ให้ความหมายประชาธิปไตยไว้อย่างหลากหลาย ดังเช่น Eremenko ได้อธิบายว่า ประชาธิปไตยเป็น
                        รูปแบบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเลือกผู้แทน การมีส่วนร่วมทางการเมือง รวมถึงการมีสิทธิเสรีภาพของ

                                 5
                        ประชาชน  ขณะที่คำว่า ประชาธิปไตย ในสังคมไทยนั้นได้ถูกนำมายึดโยงเข้ากับบริบททางการเมืองมา
                        หลายยุคหลายสมัย ทำให้การนิยามคำว่าประชาธิปไตยในไทยจึงขึ้นอยู่กับกลุ่มทางการเมืองที่นำไปใช้       ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
                        มากกว่าจะเป็นหลักการสากลที่ยอมรับกันอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ง่ายนักที่จะนำเสนอความหมายของ

                        ประชาธิปไตยที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไป จึงนำมาสู่ประเด็นเรียนรู้สำคัญเกี่ยวกับความหมายของ
                        ประชาธิปไตย มีดังนี้  6


                              1)  ประชาธิปไตยในฐานะเป็นอุดมการณ์ (Democracy as an ideology)

                                ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ หมายถึง ระบบความคิด ความเชื่อ และการให้คุณค่าในสังคมที่ให้

                        ยึดมั่นกับหลักการสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล รวมทั้งหลักการที่ให้ประชาชน
                        มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ เพื่อมุ่งให้สมาชิกของสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข โดย ศ. ดร.ชัยอนันต์
                        สมุทวณิช ได้อธิบายถึงพื้นฐานสำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตยสมัยใหม่ ประกอบด้วย
                                                                                                7

                                    ๏ การมีศรัทธาในความสามารถของมนุษย์ การยึดหลักเหตุผลด้วยวิธีการค้นคว้าตามแบบ
                                      วิทยาศาสตร์ ตลอดจนการมองว่า มนุษย์สามารถทำงานร่วมมือกันเพื่อความสุขส่วนรวมได้





                               5   Eremenko M. (2562, สิงหาคม 5). Political
Participation. Retrieved from http://www.culturaldiplomacy.
                        org/academy/content/pdf/
                               6   อรทัย ก๊กผล. เอกสารประกอบการเรียนการสอน หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับการเมืองระดับท้องถิ่น ชุดวิชา
                        รู้จักประชาธิปไตยท้องถิ่น, สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 3-14.

                               7   สภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย. คลังบทความ ระบอบประชาธิปไตย. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา: http://article-
                        spadmc.blogspot.com/2010/11/democracy-system.html [11 กันยายน 2561]



                                                                                                 สถาบันพระปกเกล้า   11
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28