Page 18 - kpi20470
P. 18
จนกระทั่งในช่วงเวลาต่อมา ประเทศไทยกลับมาประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอีกครั้ง
เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจนทำให้ขาดเสถียรภาพในการบริหารประเทศ ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
รายงานสถานการณ์ ท้องถิ่นให้เข้าสู่ยุคถดถอยอีกครั้ง จนนำมาสู่ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550”
สาระสำคัญตามรัฐธรรมนูญได้เพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจนมากขึ้นในฐานะ
องคาพยพที่สำคัญของการพัฒนาประเทศในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ศาสนา สังคม สาธารณสุข
การศึกษา และวัฒนธรรม ดังความในมาตรา 78(2) ว่า “รัฐจะต้องจัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่
การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อการพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของ
ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
2
ประชาชนในพื้นที่” อีกทั้งในมาตรา 80(4) ยังระบุว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์กรทางศาสนา และเอกชน โดยจัดให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” จากบทบัญญัติ
ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีฐานะเท่าเทียมกับ
หน่วยงานราชการอื่นๆ และส่งเสริมประชาธิปไตยผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เกิดขึ้นจริง
แม้ว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ ปี 50 จะมีความพยายามในการสานต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
ท้องถิ่นผ่านการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายประเด็น แต่ก็ไม่สามารถผลักดัน
การกระจายอำนาจในภาพรวมของประเทศได้สำเร็จ ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นไม่สามารถ
ดำเนินรอยตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อย่างแท้จริง
จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบันยังคงเกิดกระแสเรียกร้องจากหลายภาคส่วนในสังคม
ให้การปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหม่ สามารถผลักดันประชาธิปไตยท้องถิ่นและการกระจายอำนาจให้กับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งประเด็นการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นได้ถูกระบุ
เข้าเป็นส่วนหนึ่งในประเด็นการปฏิรูปประเทศ ดังจะเห็นได้จากการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
การกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่น และการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนนำมาสู่
การคลอด “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560” ที่มีบทบัญญัติที่สำคัญเกี่ยวกับการกระจาย
อำนาจและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งปรากฎอยู่ในหมวด 6 ว่าด้วยเรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 76
ความว่า “รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และ
หน่วยงานอื่นของรัฐ ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานรัฐทุกหน่วยจะต้อง
ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่... เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของ
4
ประชาชน” อีกทั้งยังระบุในหมวด 14 ว่าด้วยเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีประเด็นสำคัญ
หลายประการ ได้แก่ การจัดบริการสาธารณะ การจัดสรรงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงาน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิของประชาชนในการเข้าชื่อถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น
2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 78(2)
3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 80(4)
4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 76
6 สถาบันพระปกเกล้า