Page 17 - kpi20470
P. 17
2. โจทย์ประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย :
จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน
คนทั่วไปมักจะตั้งคำถามกันว่า ทุกวันนี้การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นที่ผ่านมาได้พัฒนา รายงานสถานการณ์
ประชาธิปไตยไทยหรือไม่? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้อยากจะชวนผู้อ่านทุกท่านนั่งไทม์แมชชีนย้อนมอง
ประชาธิปไตยไทยกัน
ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมานานกว่า 2 ทศวรรษ แต่หากสิ่งหนึ่ง
ที่เราพบเห็นได้อย่างชัดเจน คือ ประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมานั้นไม่ได้มีความคงเส้นคงวา แต่กลับมีลักษณะ
ขึ้นๆ ลงๆ แตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย อีกทั้งยังพบว่าบ่อยครั้งได้เกิดกระแสเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง
การปกครอง ทำให้เส้นทางประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมาจึงไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ มิหนำซ้ำยังเผชิญกับ
วิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทยมาโดยตลอด สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นคงของรากฐาน
ประชาธิปไตยไทยที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จนกระทั่งภายหลังจาก
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี พ.ศ. 2535 ได้เกิดกระแสให้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างเข้มข้ม มีการเคลื่อนไหว
ทางการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุมจนนำมาสู่ความรุนแรงและความขัดแย้ง อีกทั้งผลที่ตามมาทำให้เกิด
การผลักดันไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน’ หรือ
ที่เรียกโดยทั่วไปว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540” ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฯ ปี 40 ฉบับนี้จะพบว่ามีหลายส่วนที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน นับตั้งแต่กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม
ผ่านตัวแทนแต่ละจังหวัด อีกทั้งยังพบว่าในบทบัญญัติที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมยังได้กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า
การจัดทำรัฐธรรมนูญจะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ จึงนับได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์
ของไทยในการจัดทำรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ประเด็นที่สำคัญของรัฐธรรมนูญฯ ปี 40 อีกประการหนึ่งคือ เรื่องการปกครองท้องถิ่น
และการกระจายอำนาจ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับอื่นแล้วนั้น จะพบว่ารัฐธรรมนูญฯ ปี 40
มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนอย่างมากในการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังจะเห็นได้จาก
การกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน และกำหนดให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการดำเนินงานอย่างอิสระทั้งในเรื่องการบริหารงานบุคคล การคลัง การจัด
บริการสาธารณะ และการกำหนดนโยบายสาธารณะในระดับท้องถิ่น รวมไปถึงการจัดทำกฎหมายกำหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์
ในการกระจายอำนาจอย่างชัดเจน ดังความในมาตรา 284 วรรค 2 ความว่า “การกำหนดอำนาจและหน้าที่
ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองให้เป็นไปตาม
ที่กฎหมายบัญญัติ โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ”
1
จึงนับได้ว่าการพัฒนาประชาธิปไตยไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฯ ปี 40 เป็นยุคทองของการพัฒนาประชาธิปไตย
ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 284 วรรค 2
สถาบันพระปกเกล้า 5