Page 55 - kpi20431
P. 55

ผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับ ( People’s Audit Impact )


                    ภายหลังจากการเดินทางลงไปจัดการประชุมกลุ่มในพื้นที่ที่ชมรม
            ว่าวของ อ.เคียนซา ด้วยเทคนิคการมีส่วนร่วม ด้วยการใช้บัตรความคิด

            จนได้เป็นแผนปฏิบัติการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอนุรักษ์การทำาว่าวไทยขึ้น
            โดยมีภารกิจ ได้แก่ 1) จัดให้มีการฝึกอบรมแก่กลุ่มเยาวชน 2) จัดให้มี

            การประกวดและแข่งขันการทำาว่าวเพื่อการอนุรักษ์ และเพื่อส่งเสริมการ
            ท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) ส่งเสริมการทำาว่าวให้เป็น

            อาชีพ ทางกลุ่ม จึงได้เริ่มดำาเนินการตามแผนปฏิบัติการโดยได้ดำาเนินการ
            โดยพบว่าผู้ร่วมทำางานดำาเนินการอย่างมีความสุข จากพลังขับเคลื่อน

            ภาคประชาชนที่ได้ขับเคลื่อนในสิ่งที่ พวกเขาอยากทำาอยากดำาเนินการ และ
            ได้ร่วมกันทักทอฝันของกลุ่มคนเหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมาโดยการสนับสนุน

            ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่

                    1. เกิดการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายที่ขยายมากกว่าเคียนซา

            ประกอบด้วยเครือข่ายว่าวไทย อำาเภอบ้านนาเดิม อำาเภอเมืองฯ และอำาเภอ
            เคียนซา เป็นเครือข่ายระดับจังหวัด ใช้ชื่อว่าชมรมว่าวไทยสุราษฎร์ธานี


                    2. การจัดการเรียนการสอนให้แก่ เด็กและเยาวชนให้เรียนรู้การ
            ทำาว่าว โดย โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอนุรักษ์การทำาว่าวไทยจาก

            ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดให้มี
            การอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำาว่าวไทยให้กับเด็กและเยาวชนในสถาน

            ศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอด
            ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ให้คงอยู่ตลอดไป

            โดยจัดให้มีการอบรม จำานวน 7 รุ่น รุ่นละ 70 คน ตามวัน เวลา และสถานที่
            ดังนี้




           54
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60