Page 53 - kpi20431
P. 53
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเห็นชอบ จึงได้มีการเขียนโครงการเข้าแผนสู่ข้อบัญญัติ
ได้มางบประมาณมาดำาเนินการ 1 โครงการ คือ โครงการสอนเด็กในโรงเรียน
แต่โครงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ว่าวไทย ไม่ได้รับการอนุมัติงบ
ประมาณ (เนื่องจากช่วงนั้นมีประเด็นการใช้งบประมาณภาครัฐทำากิจกรรม
กับชุมชนของพื้นที่อื่น ที่กำาลังถูกตรวจสอบโดยภาครัฐ) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด
ความร่วมมือกันในภาคประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดมหกรรมว่าวขึ้นให้ได้
และเมื่อไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สุราษฎร์ธานี จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนจากมหกรรมอนุรักษ์ว่าวไทย เป็น
“มหกรรมว่าวนานาชาติ” แทน
โดยในความคิดของนายเฉลิมพล ถ้าเป็นงานว่าวไทย คงจะเรียก
คนได้ยาก เนื่องจากโดยลักษณะว่าวแล้วไม่ได้มีอะไรดึงดูดมาก แต่ถ้าเป็น
ว่าวนานาชาติจะสามารถดึงดูดคนได้มาก แต่พอทางองค์การบริหารส่วน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัดสินใจใหม่ ไม่ให้จัดงานเทศกาล (เพราะเกรงจะผิด
กฎของสำานักงานตรวจเงินแผ่นดิน) ก็เข้าสู่ช่วงดิ้นรนหาทางจัดงานกันเอง
ดังนั้น นายอาทรจึงมีบทบาทมากขึ้นในการติดต่อประสานงาน
(มีค่าใช้จ่ายสองแสนกว่าบาท จากค่าใช้จ่ายทั้งหมดเจ็ดแสนบาท) เพื่อ
ติดต่อประสานงานกับต่างชาติ (เวลาติดต่อต้องติดต่อประสานล่วงหน้า
มีการจอง เสียค่าจอง) ซึ่งการระดมทุนค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อไม่ได้รับการสนับสนุน
จากทางภาครัฐทางกลุ่มผู้จัดงานจึงกลับมาใช้วิธีสร้างการมีส่วนร่วมดึง
ความร่วมมือจากประชาชน (เป็นความคิดจากกลุ่มผู้เริ่มก่อตั้ง 4 คน)
จนเกิดเป็นการขายเสื้อเพื่อระดมทุน ได้มาส่วนหนึ่ง (ขายโดยการให้กลุ่ม
อาสาสมัครภาคประชาชนเป็นคนช่วยขาย ตั้งเป้าไว้ประมาณสองพันตัว
52