Page 52 - kpi20431
P. 52

จากนั้นนายเฉลิมพล และกองกิจการสภาองค์การบริหารส่วน
               จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปที่ชมรมว่าวของ อ.เคียนซา โดยจัด

               ประชุมกลุ่มในพื้นที่อำาเภอเคียนซา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 โดยเชิญ
               สมาชิกของชมรมมาร่วมแสดงความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม มีผู้เข้าร่วมเวที

               พูดคุย ประกอบด้วยกลุ่มเครือข่ายว่าวไทย อำาเภอบ้านนาเดิม อำาเภอเมืองฯ
               และอำาเภอเคียนซา เป็นแกนหลัก โดยมีหัวข้อพูดคุย “พวกเราจะอนุรักษ์

               ว่าวไทยในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อย่างไร” โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการมี
               ส่วนร่วม (Technology of Participation : TOP) ร่วมพบปะพูดคุยแนวทาง

               การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมว่าวไทย นายเฉลิมพล ได้นำาเทคนิคสร้าง
               การมีส่วนร่วม ด้วยเทคนิคบัตรความคิด ไปใช้กับการประชุมกลุ่มดังกล่าว

               สมาชิกชมรมว่าวที่ร่วมประชุมตั้งข้อสังเกตถึงความตั้งใจจริงของหน่วยงาน
               ภาครัฐจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในเรื่องการดำาเนินงานอย่างจริงจังและ

               ต่อเนื่อง แต่ด้วยเทคนิคกระบวนการที่ใช้ การใช้บัตรความคิด ทำาให้ทุกคน
               ได้แสดงความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม การให้เจ้าของบัตรความคิดได้อธิบาย

               ทำาให้เกิดการรับฟังอย่างตั้งใจ ทำาให้ผู้เข้าร่วมประชุมให้การยอมรับและ
               ร่วมมือในการแสดงความเห็น ข้อเสนอแนะอย่างจริงใจ จนเกิดเป็นแผน

               ปฏิบัติการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอนุรักษ์การทำาว่าวไทยขึ้น โดยมีภารกิจ
               ได้แก่ 1) จัดให้มีการฝึกอบรมแก่กลุ่มเยาวชน 2) จัดให้มีการประกวดและ

               แข่งขันการทำาว่าวเพื่อการอนุรักษ์ และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่
               จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) ส่งเสริมการทำาว่าวให้เป็นอาชีพ


                        การดำาเนินการหลังจากประชุมกลุ่มในพื้นที่แล้วได้แผนปฏิบัติการ
               กลับมา นายเฉลิมพลได้เขียนสรุปผลการประชุมเป็นรูปเล่ม เสนอนายก-

               องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนายกองค์การบริหารส่วน





                                                  เรื่องเด่นอยากเล่า 4 ( People’s Audit )  51
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57