Page 4 - kpi20366
P. 4

บทสรุปผู้บริหาร






                      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการ
               เป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ซึ่ง“เยาวชน” ในการศึกษาครั้งนี้ หมายถึง ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24

               ปี ซึ่งจัดเป็นเยาวชนกลุ่มดิจิทัล เนทีฟ ตามการจ าแนกของส านักงานสถิติแห่งชาติ การรู้เท่าทันสื่อสังคม

               ออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด าเนินการวิจัย

               ด้วยการศึกษาแนวคิดและงานวิจัยเกี่ยวกับ 1) พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ใน

               ประเทศไทย 2) แนวคิดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ 3) แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ และ4) แนวคิดเกี่ยวกับ

               ความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย


                      ในการพัฒนากรอบแนวคิดและชุดตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็น

               พลเมืองในสังคมประชาธิปไตย อาศัยการศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่

               เกี่ยวข้องกับการวัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย โดยท า

               การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ (expert interview) จ านวน 8 ท่าน จาก 6 หน่วยงาน/องค์กร ซึ่ง
               ประกอบด้วยนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อดิจิทัล และผู้เชี่ยวชาญจาก

               หน่วยงานภาครัฐที่ด าเนินการโครงการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ/สื่อสังคมออนไลน์แก่เยาวชนและ

               ประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์ประสานงานและขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้อง

               คุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคม

               และความมั่นคงของมนุษย์, ผู้แทนจากส านักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

               (ONDE) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ผู้แทนจากสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

               (IT Management) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการคุ้มครอง
               ผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ส านักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง


               กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.),องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และตัวแทน
               ของกลุ่มเด็กและเยาวชน ทั้งนี้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญมีจุดประสงค์เพื่อน าข้อเสนอแนะ

               มาปรับปรุงชุดตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในระบอบ

               ประชาธิปไตยให้มีความเหมาะสม มีเนื้อหาตัวชี้วัดที่ครอบคลุม ทันสมัย และสอดคล้องกับบริบทและ

               สภาพความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจจุบัน









                                                            3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9