Page 2 - kpi20366
P. 2
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการ
เป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย โดยที่ “เยาวชน” ในการศึกษาครั้งนี้หมายถึงผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24
ปี หรือเยาวชนกลุ่มดิจิทัล เนทีฟ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด าเนินการวิจัยด้วยการศึกษา
เอกสาร การสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาแบ่ง
ตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในสังคมประชาธิปไตยออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ การรับ
ข้อมูลเข้า และการส่งข้อมูลออก โดยตัวชี้วัดเกี่ยวกับ “การรับข้อมูลเข้า” ประกอบด้วยการมีทักษะในการ
เข้าถึงข้อมูล (Access) โดยสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารและสื่อการเมืองจากแหล่งที่หลากหลาย;
ทักษะในการวิเคราะห์และประเมินข้อมูล (Analyze and Evaluate) คือสามารถแยกความจริงออกจาก
ความเห็น สามารถวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการตระหนักในหน้าที่พลเมือง คือสามารถ
ร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นการท าผิดกฎหมาย ส่วนตัวชี้วัดเกี่ยวกับ “การส่งข้อมูลออก”
ประกอบด้วยการมีทักษะในการผลิตสื่อ (Create) คือสามารถเลือกวิธีการน าเสนอที่เหมาะสมกับ
วัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ต้องการน าเสนอ การมีส่วนร่วม (Participate) ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่าง
สร้างสรรค์ คือการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง การโต้แย้งโดยใช้หลักเหตุและผล การใช้ภาษาแบบ
สันติวิธี การไม่ใช้ถ้อยค าดูหมิ่นผู้อื่น และการน าเสนอหรือแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม
และการรู้สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามกฎหมาย คือไม่ใช้คอมพิวเตอร์ท าร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ (Copyright) และต้อง
ค านึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมอันเกิดจากการกระท าของตน มีจ านวนตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น 25
ตัวชี้วัด (การรับข้อมูลเข้า 8 ตัวชี้วัด และการส่งข้อมูลออก 17 ตัวชี้วัด)
ค าส าคัญ : การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์, เยาวชน, พลเมืองในสังคมประชาธิปไตย, ตัวชี้วัด
1