Page 40 - kpi19910
P. 40
30
4. ความขัดแย้งโครงการสร้างเขื่อนรับร่อ
พื้นที่ : หมู่ที่ 13 ต าบลรับร่อ อ าเภอท่าแซะ
ประเภทความขัดแย้ง : ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (การบริหารจัดการน้ า)
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับท้องถิ่น มีเผยแพร่ในสื่อท้องถิ่นบ้าง และปรากฎข้อมูลในเอกสารทาง
ราชการ
ประเด็นขัดแย้ง :
แผนจะสร้างเขื่อนรับร่อมีมาก่อนแล้ว มีการศึกษาผลกระทบพบว่า จะสร้างความเดือดร้อน
ให้กับชาวบ้านจ านวนมาก ชาวบ้านร่วมเคลื่อนไหวจนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรีให้หยุดด าเนินการ
ใด ๆ ไว้ก่อน หลังจากนั้นมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกสร้างเขื่อนรับร่อในปี 2551
ความเป็นมา :
พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนรับร่อ ตั้งอยู่ที่บ้านหลังเขา ต าบลรับร่อ อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2536 – 2538 พื้นที่น้ าท่วมประมาณ 15,000 ไร่ ส าหรับเขื่อนรับ
ร่อจุน้ าได้ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 4,000 ล้านบาท แยกเป็น
ราคาเขื่อน 700 ล้าน ระบบชลประทาน 3,000 กว่าล้านบาท ข้อมูลขณะนั้นระบุว่า มีผู้ได้รับ
ผลกระทบประมาณ 600 ครอบครัว ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 1,700 ครัวเรือน เฉพาะ
ต าบลรับร่อมีผู้ได้รับผลกระทบถึง 7 หมู่บ้าน เขื่อนรับร่อยังกินพื้นที่ต าบลท่าข้ามและต าบลคุริงอีกด้วย
“แผนจะสร้างเขื่อนรับร่อมีมาก่อนแล้ว แต่ชาวบ้านเพิ่งทราบ เมื่อช่วงปี 2536 จากนั้นก็เริ่มรวมตัวกัน
เคลื่อนไหวต่อต้าน พอถึงปี 2539 – 2540 ชาวบ้านได้เข้าร่วมกับสมัชชาคนจน และเริ่มเคลื่อนไหว
หนักขึ้น จนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรีให้หยุดด าเนินการใด ๆ ไว้ก่อน ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2540
แต่ยังไม่ยกเลิก ในระยะหลังกรมชลประทานมักท าโครงการขนาดเล็ก เสนอตัวเลข ต่าง ๆ ต่ ากว่าที่
ก าหนดให้ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ เช่น มีพื้นที่น้ าท่วมไม่เกิน 10,000 ไร่ ปริมาณ
กักเก็บน้ าไม่เกิน 98 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทานประมาณ 70,000 กว่าไร่ เพราะตัวเลขระดับ
นี้ไม่ต้องท าอีไอเอ
ถึงแม้จะมีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกสร้างเขื่อนรับร่อในปี 2551 ไปแล้ว แต่ชาวบ้านก็ไม่
ไว้ใจอยู่ดี เพราะมีบางเขื่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกไปแล้ว เคยถูกปัดฝุ่นน ากลับมาด าเนินการใหม่
ชาวบ้านเคยกักตัวเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาในพื้นที่ไปแล้วหลายรอบ ช่วงปี 2545 มีบริษัทที่ปรึกษาเข้ามา
ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถูกชาวบ้าน 400 กว่าคน กักตัวไว้ 2 วัน ช่วงวันที่ 9 – 10 มีนาคม 2545
ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม 2545 มีคนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า เข้ามาส ารวจ
ภาคสนาม ก็ถูกชาวบ้านกักตัวไว้ 1 คืน คราวนั้น มีต ารวจจากสถานีต ารวจภูธรอ าเภอท่าแซะออก
ลาดตระเวน 3 ชุด ในคืนเดียวกัน มีการตรวจค้นแกนน าชาวบ้าน 3 คน โดยต ารวจอ้างว่าทั้ง
3 คน อาจเป็นภัยคุกคามไม่ให้โครงการพัฒนาเกิดขึ้นในพื้นที่ ชาวบ้านถามว่าใครสั่งมา ก็ไม่ได้รับ
ค าตอบ “ทางราชการมักให้ข้อมูลว่า สร้างเขื่อนแล้วจะท าให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดี มีน้ าท่าอุดมสมบูรณ์
การท าเกษตรจะได้ผลดี แต่ไม่เคยพูดถึงเรื่องที่ชาวบ้านเดือดร้อนเลย การบิดเบือนข้อมูลแบบนี้ ส่งผล