Page 37 - kpi19910
P. 37
27
3. ต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
พื้นที่ : อ าเภอปะทิว อ าเภอละแม จังหวัดชุมพร
ประเภทความขัดแย้ง : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พลังงาน)
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับชาติ ผ่านสื่อทางสังคมหลากหลายทั้งวิทยุและโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
ประเด็นขัดแย้ง :
ชาวบ้านคัดค้านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนท าให้
ชาวบ้านเกิดความหวาดระแวงและคัดค้านเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่และพื้นที่
ใกล้เคียง
ความเป็นมา :
เครือข่ายรักษ์ละแม เกิดขึ้นเมื่อ เมื่อปี พ.ศ. 2551 จากการมีกระแสข่าวการสร้างโรงไฟฟ้า
ถ่านหินในพื้นที่ละแม ในขณะนั้นประชาชนในพื้นที่มีการรวมตัวกันคัดค้านจนกระทั่งโครงการถูกยุติ
การด าเนินการไปขณะหนึ่ง ต่อมาต้นปี พ.ศ. 2553 ทีมเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ได้ลงพื้นที่ในอ าเภอละแม เพื่อเดินเครื่องมวลชนสัมพันธ์ ให้ข้อมูลผลดีของการสร้างโรงไฟฟ้า
ถ่านหินเพียงด้านเดียว จนกระทั่งท าให้เกิดความหวาดระแวงและก่อให้เกิดความขัดแย้งของประชาชน
ในพื้นที่อ าเภอละแม และกลุ่มเครือข่ายรักษ์ละแมจัดเวทีชุมนุมสาธารณะในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.
2553 ณ สนามหน้าอ าเภอละแม ประชาชนเข้าร่วมเวทีมากกว่า 5,000 คน โดยได้มีการแสดงออกพลัง
ประชาชนในการคัดค้านไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ในทุกพื้นที่จังหวัดชุมพร รวมทั้งอ าเภอ
ท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการช่วยกันระดมทุนทรัพยากรในการเคลื่อนไหวคัดค้าน และยื่น
ข้อเสนอคัดค้านการด าเนินการเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร , องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และผู้บริหารท้องถิ่นร่วมลงนามสัตยาบันร่วมคัดค้านไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ จ านวน
5 ท้องถิ่น ประกอบด้วยนายก อบต.ละแม , นายก อบต.สวนแตง , นายก อบต.ทุ่งหลวง, นายก อบต.
ทุ่งคาวัด ,นายเทศมนตรีเทศบาลต าบลละแม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังมีโครงการ
จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ในพื้นที่ต าบลชุมโค อ าเภอปะทิว จังหวัดชุมพร หากแต่การไฟฟ้า