Page 124 - kpi19910
P. 124
114
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต และมีการประกาศแต่งตั งพนักงานเจ้าหน้าที่
ทหารและต ารวจเข้าควบคุมสถานการณ์ กว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ปกติก็ใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์
และประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 1 กรกฎาคม 2529 การจลาจลครั งนี ได้ก่อความ
เสียหายกว่า 2 พันล้านบาท และสุดท้าย บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จ ากัด มีมติให้ย้าย
โรงงานแทนทาลัมจากภูเก็ตไปตั งที่อื่น
คู่ขัดแย้งหลักและจุดยืน :
1. ชาวบ้านอ าเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้ข้อมูลว่าโรงงานแทนทาลัมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อ
ประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ต
2. บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จ ากัด ระบุการสร้างโรงงานแทนทาลัม
ผู้เกี่ยวข้องอื่น :
1. นายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ระยะเวลา : มากกว่า 5 ปี (พ.ศ. 2523-2529)
สถานะ : ได้รับการแก้ไขแล้ว
พลวัต :
บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จ ากัด ระบุการสร้างโรงงานแทนทาลัม แต่ได้รับการ
คัดค้านจากชาวบ้านอ าเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้ข้อมูลว่าโรงงานแทนทาลัมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อ
ประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ต จนเกิดความรุนแรงเผาท าลายโรงงาน เกิดการจลราจลในพื นที่
จังหวัดภูเก็ตท าให้เกิดความเสียหาย และในที่สุดบริษัทตัดสินใจย้ายโรงงานไปที่อื่นแทน
ระดับความรุนแรง : มีความเสียหายต่อทรัพย์สิน
วิธีการแก้ไข :
กลยุทธ์ของการจัดการความขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหา คือ
ชาวบ้านไม่ยินยอมในการให้สร้างโรงงานแทนทาลัม มีการรวมกลุ่มคัดค้านเกิดการท าลาย
ทรัพย์สิน หลังจากนั น บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จ ากัด มีมติให้ย้ายโรงงานแทนทาลัม
จากภูเก็ตไปตั งที่อื่น
ปัจจัยที่จะสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง คือ
ปัญหามลพิษอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ท าให้ชาวบ้านตื่นตัวเพื่อไม่ให้สร้างโรงงาน
แทนทาลัม
ผลกระทบที่เกิดขึ้น :
ความกังวลใจในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื นที่ทั งคุณภาพชีวิต มลพิษทางอากาศ