Page 116 - kpi19164
P. 116
บทที่ 5
บทบาทสหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาสหกรณ์ต้นแบบภาคเหนือ
การศึกษาบทบาทสหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาสหกรณ์ภาคเหนือ จะ
น าเสนอผลการศึกษาจากการกรณีศึกษาสหกรณ์ต้นแบบในภาคเหนือ ประกอบการอธิบายทั้งนี้ได้
แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
• บทบาทสหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
• การด าเนินงานของสหกรณ์ต้นแบบภาคเหนือ
5.1 บทบาทสหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ประเทศไทยได้ริเริ่มด าเนินการกิจการสหกรณ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แต่จุดเริ่มต้นที่ส าคัญของขบวนการสหกรณ์ไทยเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ฉบับแรก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2471 เพื่อเปิดโอกาสและ
ส่งเสริมให้สหกรณ์มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์ จึงมีการรวมกลุ่มของ
1
สหกรณ์เพื่อจดทะเบียนเป็นชุมนุมสหกรณ์ขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นการวางรากฐานงานด้านสหกรณ์ของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน และได้
มีการแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม ในระหว่าง พ.ศ. 2478 - 2494 กิจการสหกรณ์
ได้ขยายกว้างขวางขึ้นเป็นอันมากทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ สามารถช่วยเหลือราษฎรให้มี
มาตรฐาน การครองชีพสูงขึ้น ในระดับที่น่าพึงพอใจ คณะรัฐบาลสมัยนั้นจึงถือเอาการสหกรณ์เป็น
นโยบายหลักอันส าคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และเพื่อให้การสหกรณ์ในประเทศไทยเจริญ
รุดหน้าสมความมุ่งหมายของรัฐบาลในการแก้ไขภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ผลจากการ
ด าเนินกิจการสหกรณ์ สามารถช่วยเหลือสมาชิกโดยเฉพาะเกษตรกร และกลุ่มแรงงาน แก้ปัญหา
เรื่องการเงิน การผลิตและการตลาด โดยสหกรณ์จะให้สินเชื่อกับสมาชิก เพื่อน าไปเป็นเงินทุนในการ
ท าอาชีพ และจะช่วยลดต้นทุนการผลิตด้วยการรวมกันซื้อปัจจัยการผลิตเพื่อได้สินค้าในราคาถูก
และรวมกันขายผลผลิตของสมาชิกเพื่อจะได้ราคาที่สูงขึ้น มีสามารถสร้างอ านาจต่อรองทางการ
ตลาดให้กับสมาชิกได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการด าเนินกิจการด้านการตลาดแทนสมาชิก มีการ
จัดตั้งตลาดกลางเพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และ
สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาวและยั่งยืน
1 สันนิบาตสหกรณ์. ประวัติสันนิบาตสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2561. จาก
http://www.clt.or.th/main/menu_top_right/clt_information/history_clt.php
106