Page 117 - kpi19164
P. 117

ปัจจุบันประเทศไทยใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
                   2553 ได้ก าหนดสหกรณ์ไว้ 7 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์

                                                                                                     2
                   บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ประมง และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ตลอดระยะเวลากว่า 102 ปี
                   ของการพัฒนาสหกรณ์ไทย ได้เข้าไปมีบทบาทส าคัญในการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตร
                   เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและได้ขยายกิจการไปทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีจ านวน

                   สหกรณ์ทั้งสิ้น (รวมชุมนุม) 8,194 แห่ง และมีจ านวนสมาชิก 11,574,271 คน และเงินทุน จ านวน

                                        3
                   2,567,547.97 ล้านบาท  ปัจจุบันสหกรณ์จะด าเนินธุรกิจ 6 ประเภท ได้แก่ รับฝากเงิน ให้เงินกู้
                   จัดหาสินค้ามาจ าหน่าย แปรรูปผลผลิต รวบรวมผลผลิต ธุรกิจบริการ ในยุคแรกๆ ของการจัดตั้ง

                   สหกรณ์ในประเทศไทย การด าเนินธุรกิจของสหกรณ์แต่ละประเภทจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์

                   ของสหกรณ์ แต่เนื่องจากสภาพปัญหาการด าเนินงานของสหกรณ์ที่ต้องพึ่งตัวเองท าให้มีสหกรณ์ใน
                   แต่ละประเภทท าธุรกิจที่ไม่แตกต่างกันในปัจจุบัน ประกอบกับขบวนการสหกรณ์ที่เป็นอยู่ซึ่งมีทั้ง

                   “สหกรณ์แท้” และ “สหกรณ์เทียม” โดยพบว่าสมาชิกขาดความภักดีที่จะสนับสนุนและอุดหนุน

                   ธุรกิจสหกรณ์ มักจะเป็นลักษณะของการเป็นผู้ร่วมใช้ฟรี (Free Rider) ท าให้เกิดความเสื่อมศรัทธา
                   ต่อขบวนการสหกรณ์ และเมื่อศึกษาในรายละเอียดจะพบว่าสหกรณ์แท้ที่สามารถพึ่งตนเองมีความ

                   มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในประเทศไทยยังมีจ านวนไม่มาก โดยพิจารณาจากการบริหารเงินภายใน

                   สหกรณ์ พบว่าสหกรณ์จ านวนมากมีเงินทุนหมุนเวียนซึ่งเกิดจากการกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
                   น ามาให้สมาชิกกู้อีกต่อ เพื่อหวังก าไรมาใช้ในการบริหารจัดการสหกรณ์ และเมื่อพิจารณาธุรกิจที่

                   ด าเนินการและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือช่วยเหลือสมาชิก เช่น การแปรรูปผลผลิต รวบรวม

                   ผลผลิต ไม่เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มสมาชิก หรือไม่มีการด าเนินการกิจกรรมอย่างแท้จริง
                           ดังนั้นการด าเนินการของสหกรณ์ไทยที่ผ่านมาจึงเกิดความเสี่ยงภายในค่อนข้างสูง ซึ่งเป็น

                   โจทย์ที่ส าคัญของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงให้กับสหกรณ์ หากมองว่าสหกรณ์เป็นหนึ่งในกลไก

                   ส าคัญในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์จะน าไปสู่การกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรม
                   และสันติสุขในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่ยากจนที่สุด ซึ่งมีรายได้น้อยที่สุด

                   คือเพียงครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยทั้งประเทศเท่านั้น ส่วนกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั่วไป และกลุ่มข้าราชการ

                   ซึ่งเป็นกลุ่มคนส าคัญของประเทศที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากระบบทุนนิยม ทั้งนี้การพัฒนาสหกรณ์ที่
                   ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคในอดีตพบว่ายังไม่มีความเข้มแข็งเท่าที่ควร สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ยังขาด

                   การให้ความร่วมมือ ขาดความรู้ความเข้าใจหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการของสหกรณ์อย่างแท้จริง




                   2  นับจากการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรแห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2459 ชื่อว่า สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จ ากัดสินใช้ ในจังหวัดพิษณุโลก เป็น
                   สหกรณ์การเกษตรชนิดไม่จ ากัด
                   3  รายงานประจ าปี 2560 กรมส่งเสริมสหกรณ์

                                                           107
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122