Page 239 - kpi17721
P. 239
2) เพื่อเป็นการตรวจสอบการทุจริต เมื่อมีการร้องเรียนหรือทราบข่าวโดยไม่ต้องผ่าน
กระบวนการต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าไปดำเนินการขอตรวจสอบเอกสาร หรือเฝ้าระวัง
การปฏิบัติงานของแต่ละกองเพื่อความโปร่งใส
ท้องถิ่นใจดี 3) เพื่อเป็นตัวแทนภาคประชาชนและเปิดโอกาสให้ตัวแทนภาคประชาชนมาเป็น
คณะกรรมการการประมูลงาน การจัดซื้อ/จัดจ้าง ฯลฯ รวมถึงการเป็นคณะกรรมการ
ตรวจงานร่วมกับพนักงานเทศบาลทุกโครงการ
4) เมื่อทราบข้อมูล หรือได้รับการร้องเรียนทั้งทางลับและเปิดเผยเร่งดำเนินการ
ภาคประชาชนสามารถเข้าไปดำเนินการตรวจสอบได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยไม่ต้อง
ร้องขอหรือได้รับอนุญาตจากผู้บริหารแต่อย่างใด
กิจกรรมการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงาน
กิจกรรมการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงานโครงการโครงการตรวจสอบความโปร่งใส
การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
และติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.) มีขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นกระทั่งสิ้นสุด
โครงการ คณะวิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องและการประมวลผลจากข้อมูลเอกสารพบว่า
เป็นโครงการต่อเนื่องที่ดำเนินการมาหลายปีแล้ว ทั้งนี้ ได้ทำแผนผังแบบง่ายเพื่อให้เข้าใจภาพรวม
ของขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นในปีแรกกระทั่งปัจจุบัน 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การก่อตัวของทีมผู้บริหารเทศบาลที่มีความต่อเนื่องทางการเมือง ทำงานร่วมกับชุมชนมา
เป็นระยะเวลา 2 ทศวรรษ
2. บริบทของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่รวมกลุ่มกันได้ในพื้นที่เริ่มก่อตัวจัดตั้ง “กลุ่ม
อาชีพเสริม” ขอการสนับสนุนจากเทศบาล เริ่มประมาณปี 2543
3. นโยบายภาครัฐเชิงมหภาค “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2545” เปิดโอกาสให้เกิดกระแสและบรรยากาศการมี
ส่วนร่วมในการตรวจสอบภาครัฐในวงกว้าง
4. การก่อตัวที่กลุ่มพลังภาคประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลกงไกรลาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-
2558
5. การก่อการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาครัฐและชุมชนนำมาสู่การดำเนินโครงการตรวจสอบ
ความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.)
2 2 สถาบันพระปกเกล้า