Page 234 - kpi17721
P. 234
การเล่นช่วง การเล่นเตย นางสุ่ม นางด้ง นางชิงลม เป็นต้น ต่อมาเมื่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าถึง
หมู่บ้าน ในปี พ.ศ.2530 ก็เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นมาและทำให้วิถีชีวิตของชาวกงไกรลาศ
เปลี่ยนแปลงไป
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนครู – นักเรียนในเขตเทศบาลตำบลกงไกรลาศ ท้องถิ่นใจดี
(ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2558)
จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียน
ที่ ชื่อสถานศึกษา ระดับก่อน ระดับประถม ระดับ จำนวนครู
ประถมศึกษา ศึกษา มัธยมศึกษา
1 ร.ร.บ้านกงราษฎร์อุทิศ 71 143 112 19
2 ร.ร.อนุบาลกงไกรลาศ 23 70 - 6
3 ศูนย์เด็กเล็กวัดบ้านกร่าง 129 - - 9
4 ศูนย์เด็กเล็กวัดกงไกรลาศ 45 - - 3
รวม 268 213 112 37
ที่มา: เทศบาลตำบลกงไกรลาศ. รายงานการติดตามประเมินแผนพัฒนาสามปี(พ.ศ.2558-2560) เทศบาลตำบลกงไกลาศ.
สุโขทัย: งานวิชาการและแผนงาน, 2558.
ในด้านความเชื่อ ศาสนาและวัฒนธรรม จากการสำรวจของเทศบาลกงไกรลาศพบว่ามีผู้นับถือ
ศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.0 ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.0 ศาสนาคริสต์ และอื่นๆ ร้อยละ 1.0 ในพื้นที่
มีสถาบันและองค์กรทางศาสนา คือ มีวัดและสำนักสงฆ์ ศาลเจ้า สำหรับมัสยิดและโบสถ์ของคริสต์ การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
ศาสนาไม่มีปรากฎในพื้นที่ สถานที่ตั้งสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นที่เคารพบูชาของคนในท้องถิ่นและเป็นสถาน
ท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ หลวงพ่อโตวิหารลอย วัดกงไกรลาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัด
สุโขทัย หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย พระครูไกรลาศสมานคุณ
(หลวงพ่อย่น) วัดกงไกรลาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น นอกจากนี้
การแข่งขันเรือพายวัดกงไกรลาศ ความเป็นมาของการแข่งขันเรือพายในครั้งแรกเกิดขึ้นมาได้โดยท่าน
พระครูไกรลาศสมานคุณ(หลวงพ่อย่น)ได้เป็นผู้ริเริ่มเป็นครั้งแรก โดยครั้งนั้นใช้เรือหมูซึ่งเป็นเรือหา
ปลาของคนตามลุ่มแม่น้ำยม โดยมีรางวัลเป็นประเภทสุราขาว และเป็นข้าวต้มมัด กระยาสารท ให้
แต่ละลำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณี วัฒนธรรมที่ดีและเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ
อำเภอกงไกรลาศ ให้เป็นที่รู้จัก เทศบาลตำบลกงไกรลาศ จึงได้จัดงานประเพณีแข่งขันเรือพายขึ้นเป็น
ประจำของทุกปี
สถาบันพระปกเกล้า 22