Page 238 - kpi17721
P. 238
“...ทางเทศบาลได้มีกระบวนการของชุมชนอยู่ก็คือของแต่ละชุมชนจะมีฝ่ายตรวจสอบฝ่าย
อะไรของเขาอยู่ในคณะกรรมการนั้น ก็เลยตรงนี้เวลามาคุยกันว่าจะทำยังไงจะอำนวยความสะดวก
ในเรื่องของคือไม่ต้องมีระบบระเบียบมากมาย คือ ชาวบ้านสงสัยว่ามันจะผิดไหม บางทีมันก็มาสะดุด
แค่ฝ่ายรับเรื่องบ้าง มันก็ไม่ได้ตรวจสอบบางที สมมุติเจองานอย่างกองสวัสดิการ ยกตัวอย่าง
เบี้ยยังชีพ บางทีงบประมาณช่วงนั้นมันมาช้า ชาวบ้านก็สงสัย แต่บางทีจะมาถามเทศบาลมันก็ต้อง ท้องถิ่นใจดี
ผ่านกระบวนการไรเยอะแยะมากมาย มันต้องทำเรื่องสอบถามไรแบบนี้...”
“...ก็เลยมาคุยไปคุยกันมาว่าเออเอาแบบนี้ไหมเล่า มาตรวจเลยไม่ต้องมีการผ่านอะไรกันเลย
คือเป็นคณะกรรมที่แต่งตั้งมาแต่ละชุมชนส่งตัวแทนมาใครเป็นฝ่ายตรวจสอบ ชุมชนละ 1 คน
7 ชุมชนก็ 7 คน คือ 7 คนนี้ นายกให้อำนาจเบ็ดเสร็จเลยว่า ‘คุณสามารถมาขอใครดูก็ได้’ คือ
สมมุติกองสวัสดิการสงสัยว่าทำไมเงินเอาไปใช้อย่างอื่นก่อนหรือเปล่า เขาก็สามารถเข้ามาและ
ก็สามารถเรียกมาเลยว่าคุณเอาเอกสารมาให้ดู และเงินมันไปไหน ทำไมไม่มาสักที คือ ชาวบ้านรอ
คือแบบนี้ต้องบอกทันทีเลย ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องรอนายกฯ ไม่ต้องหนังสือ ทั้งนี้ ถ้าคนนี้มาขอดู
เรื่องนี้สงสัย คุณจะต้องมาพร้อมหลักฐานทุกอย่าง...”
ภาพที่ 3 แสดงการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างตัวแทนชุมชนกับเจ้าหน้าที่เทศบาล
การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์
หรือเป้าหมายของโครงการ
ในการนี้ เทศบาลตำบลกงไกรลาศได้กำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการตรวจ
สอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.) 4 ข้อ คือ
1) เพื่อเป็นการติดตามการทำงานของพนักงานเทศบาลจนถึงผู้บริหารของเทศบาลในทุกๆ
เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
สถาบันพระปกเกล้า 2 1