Page 243 - kpi17721
P. 243
สำหรับประเด็นสำคัญจากนโยบายภาครัฐเชิงมหภาคจากส่วนกลางว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบ
ภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในช่วงแรกๆ ทีมบริหารได้เชิญตัวแทนของคนในชุมชนมาเป็น
ทำงานร่วมกับทีมบริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลทำให้ทุกฝ่ายต่างตระหนักถึงปัญหาในการทำงานร่วม
ท้องถิ่นใจดี กัน ในกระบวนและขั้นตอนการขอตรวจสอบตามระเบียบว่าด้วย “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2545” ซึ่งวิธีการนี้เทศบาล
1
ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ในรูปแบบ “คณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบการทำงาน
ของเทศบาล” ที่มาทำหน้าที่แทนคนในชุมชนเริ่มเรียนรู้และตั้งคำถามกันเองเกี่ยวกับ “กฎหมาย
ระเบียบ กฎเกณฑ์และอื่นๆ”
การก่อเกิดโครงการตรวจสอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.)
เริ่มชัดเจนจากโครงการที่เป็นรูปธรรม คือปี พ.ศ. 2556 ทีมบริหารเทศบาลและเจ้าหน้าที่จัดโครงการ 1
ประธานกับงานชุมชนได้มอบหมายให้มีการตั้งคณะกรรมการที่มีการแต่งตั้งขึ้นมาจากแต่ละชุมชน
ในการดำเนินโครงการตรวจสอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน โดยมีการประเมิน
ความโปร่งใสขององค์กรในด้าน คือ
การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
1) ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง
2) ด้านการบริหารงาน
3) ด้านการบริหารงานบุคคล
4) ด้านการบริหารงบประมาณ
5) ด้านการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
6) ด้านการเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
7) ด้านการปฏิบัติงานตามจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เมื่อได้รับการประสานงานมาจากชุมชนเพื่อส่งตัวแทนมาทำหน้าที่ “คณะกรรมการตรวจสอบ
ความโปร่งใส การทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของเทศบาลตำบลกงไกรลาศ” ทางเทศบาลได้จัด
ทำประกาศติดบอร์ดของเทศบาลและประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซต์ พร้อมทั้งระบุอำนาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการตรวจสอบความโปร่งใส การทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของเทศบาลตำบล
กงไกรลาศไว้ 5 ข้อ ดังนี้
1 การตรวจสอบภายใน หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนงานที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณการเงิน
การพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารงานด้านอื่น ๆ ตลอดจนการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห์ประเมินความเพียงพอและ
ประสิทธิผลของการควบคุมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการรายงานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
2 สถาบันพระปกเกล้า