Page 394 - kpi17073
P. 394
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 393
คุณชัชวลิต ธรรมสโรช
เรื่องการทุจริตเราจะต้องมองสองส่วน ส่วนที่เป็นผู้ใหญ่ องค์กร รัฐ เอกชนช่วยกันดู เมื่อไร
ที่เราพบควรจะลงโทษอย่างรุนแรง เช่น ถ้าภาครัฐนี่ตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปเลยไม่ควรจะให้เข้ามา
อีก เพราะว่าถ้าเริ่มจากจิตใจที่ไม่บริสุทธิ์ที่ไม่ดีแล้ว จะให้เขามาดูแลประเทศได้อย่างไร ข้าราชการ
ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นบริษัทห้างร้านเอกชน ถ้าทุจริตต้องให้ออก เราต้องเอามาใช้ให้เหมือนกัน
อีกส่วนหนึ่งระยะยาว เยาวชนของเราคือการสร้างคุณธรรมจริยธรรม ไม่ใช่สร้างวันเดียวสร้างได้
มันใช้เวลานี้เองทั้งโรงเรียนเอง ทั้งครอบครัวเอง และคนใกล้ชิด คือผมอยู่บริษัทเขาบอกว่า
เพื่อนช่วยเพื่อน ให้เราดูตัวเองและรอบๆว่าเราจะช่วยกันอย่างไร ถ้าตรงไหนที่เราเห็นว่าไม่ดีก็มี
การตักเตือนกัน ไม่ยอมรับสังคมเราก็จะดีขึ้นเรื่องคอรัปชั่นจะหมดหายไป
คุณลาวัลย์ ชูไสว
คำถามเกี่ยวกับมีโอกาสไหมที่จะออกกฎหมายลงโทษการคอรัปชั่นไม่มีอายุความไม่มีการ
นิรโทษกรรมถ้าใครทำผิดแล้วหนีคุณก็หนีตลอดชีวิตแล้วกัน กลับเมืองไทยเมื่อไรก็ต้องเข้าสู่
กระบวนการ ข้อสองจะมีโอกาสที่จะออกกฎหมายห้ามคนที่มีพฤติกรรมด้านทุจริตคอรัปชั่นหมด
สิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต สามจะมีโอกาสไหมที่ให้สิทธิ์ประชาชนร้องทุกข์กรณีการซื้อเสียง
แต่ลงโทษคนซื้อเสียงแต่อย่าลงโทษคนขายเสียง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีความรู้น้อยอยาก
จะช่วยชาติจับผิดคนซื่อเสียงห้าถึงสิบปีให้ความรู้ประชาชนว่าหลังจากนี้ถ้าคุณขายเสียงคุณผิดด้วย
แต่ในระยะแรกอย่าเพิ่งลงโทษคนขายเสียงเพราะเขาจะไม่กล้าช่วยรัฐในการแก้ปัญหา มีโอกาสที่
เราจะมีกองทุนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยเกี่ยวกับกฎหมาย ให้กับ
ประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบเรียน ขณะนี้มีประชาชนบางส่วนไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้แล้วอายุ
ประมาณ 30-50 ปี อยู่ตามหมู่บ้านในแต่ละจังหวัดมีคนที่มีความรู้ส่วนหนึ่ง อำเภอตำบลน้อยลง
หมู่บ้านน้อยลงที่สุด บางหมู่บ้านรู้เรื่องประชาธิปไตยแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ที่รู้ที่เหลือไม่รู้ รู้อย่าง
เดียวว่าถ้าเงินมากเป็นพระคุณ
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส
สำหรับเรื่องที่ติดใจผลการตรวจสอบของ สตง.เรื่องการใช้จ่ายเงินของฟุ่มเฟือยไม่ใช่เฉพาะ
กสทช. อย่างที่เป็นข่าว เรื่องงบรับรองที่มีอัยการไปใช้ในการรับรองรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ยังคงมี
หลายแห่งที่รายงานแต่ไม่เป็นข่าวเพราะว่า สตง.ไม่ได้ตรวจเฉพาะการใช้จ่ายเงินเฉพาะผิด
กฎหมาย เราตรวจถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่าของการใช้เงินต่องานด้วย อะไรที่ไม่
ประหยัดไม่คุ้มค่าเราต้องทักท้วงท้วงติง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายที่ทำให้เกิดความเสียหาย
ทาง สตง.ที่เป็นหน่วยงานตรวจเงินเราก็มีภาระหน้าที่ติดตามเพื่อที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน ผู้เสียหาย หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการทางด้านกระบวนการ
ทางวินัยทางอาญาทุกหน่วย ได้ทำหน้าที่เช่นพบว่าทุจริตข้าว เราต้องส่งพนักงานสอบสวนไป
ส่วนเรื่องกรณีการกระจายอำนาจ อันนี้ความจริงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย
แต่เมื่อกระจายไปแล้วคนที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นทำหน้าที่โดยมิชอบหรือว่าแสวงหากำไร อันนี้ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
ก็เป็นส่วนที่เราจะต้องมีหน้าที่ปราบปรามเพราะมิฉะนั้นแล้วมันก็อาจจะมีการกระจุกอำนาจอยู่แต่