Page 210 - kpi17034
P. 210

การสร้างสำนึกพลเมือง



                       การมองตาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง จึงควร

                  มองผู้ฟังให้ทั่วถึงแต่ไม่ควรกวาดสายตาอย่างรวดเร็ว ควรทำช้าๆ และพูดคุย
                  กับผู้ฟังแต่ละคนๆละ สัก 1-2 วินาที ใช้น้ำเสียงหนัก-เบาประกอบกัน
                  ตามเนื้อหาที่นำเสนอ เพื่อความน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และความเข้าใจที่ดี
                  ยิ่งขึ้น

                       สำหรับโทนเสียงที่ใช้มี 3 ระดับคือ ระดับสูง ใช้กรณีที่ต้องการดึงดูด

                  ความสนใจของผู้ฟัง ส่วนมากมักใช้เมื่อเริ่มต้นการนำเสนอ ระดับกลาง เป็น
                  เสียงที่อยู่ในช่วงคอ มักใช้เมื่อต้องการสื่อสาร บอกเล่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับผู้ฟัง
                  ระดับที่สามคือระดับต่ำเป็นเสียงที่อยู่ในช่วงอก มักใช้เมื่อต้องการเน้นให้เห็น
                  ความสำคัญของเนื้อหาส่วนนั้น การใช้โทนเสียงหนึ่งใดควรพิจารณาตาม

                  ความเหมาะสมของเนื้อหาและกาลเทศะ แต่สิ่งสำคัญคือไม่พูดด้วยน้ำเสียง
                  โทนเดียว โดยขณะที่พูดสามารถใช้ท่าทางประกอบในการพูดได้ โดย
                  พิจารณาตามความเหมาะสมและให้สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังพูด

                       สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการนำเสนอคือการแบ่งวรรคตอน ผู้พูดไม่ควรพูด
                  เร็วจนเกินไปหรือช้าจนเกินไปโดยไม่มีการแบ่งวรรคตอน เพราะจะทำให้

                  ผู้ฟังไม่ทราบว่าส่วนใดเป็นส่วนสำคัญที่ผู้พูดต้องการเน้น ดังนั้นผู้พูดควรแบ่ง
                  ลมหายใจในการพูดให้ดี โดยหยุดในช่วงจังหวะที่ต้องการเน้นเพื่อให้ผู้ฟัง
                  ทราบว่าส่วนนี้มีความสำคัญ

                       การเลือกนำเสนอสิ่งที่มีความสำคัญเป็นหัวใจสำคัญ เพราะตามหลัก
                  จิตวิทยาแล้ว ผู้ฟังมักมีความสนใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน

                  ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงเท่านั้น หากเกินกว่านั้นจะต้องมีกิจกรรมอื่นๆ เข้ามา
                  เสริมเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ

                       ผู้พูดอาจนำเทคนิคการตั้งคำถามมาใช้สลับบ้างเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ
                  เช่น การถามเพื่อให้คิดกลับ การถามเพื่อให้ฉุกคิด เป็นต้น







                                                01
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215