Page 215 - kpi17034
P. 215

การสร้างสำนึกพลเมือง



              เป็นรูปแบบการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หรือการดำเนินกิจกรรม

              ต่างๆ ซึ่งคุณครูหรือผู้นำกระบวนการสามารถนำกระบวนการนี้มาปรับ
              เพื่อเป็นการประเมินหลังการเรียนรู้และเพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมนั้นๆ บรรลุ
              ตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไร

                    คำถามที่นิยมใช้ในการทำ AAR ประกอบด้วย

                    1.  สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงาน / การอบรม / การเรียน คือ
                       อะไร

                    2.  สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร เพราะอะไร

                    3.  สิ่งที่ไม่เกิดขึ้นจริงคืออะไร เพราะอะไร

                    4.  สิ่งที่ได้เรียนรู้และเป็นประโยชน์คืออะไร

                    5.  คิดว่าควรปรับปรุงอะไร วิธีการลด / แก้ความแตกต่างคืออะไร

                    6.  หากต้องทำครั้งต่อไป จะปรับปรุงอะไรให้ดีขึ้น

                    อย่างไรก็ตามคุณครูหรือผู้นำกระบวนการสามารถปรับปรุงและ
              พัฒนาคำถามให้ง่ายและเหมาะสมกับนักเรียนหรือชุมชนได้ AAR มักจะใช้

              หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม หรืออย่างน้อยควรให้เร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ลืมบรรยากาศ
              อารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างทำกระบวนการ

                    กติกาคือสิ่งสำคัญ ในการสะท้อนประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพ
              ดังนั้น ก่อนการแลกเปลี่ยนคุณครูควรให้ความสำคัญกับการวางกติกา
              ร่วมกัน และหากเมื่อใดที่เกิดความไม่เข้าใจกัน ขอให้กลับมาทบทวนกติกา

              ซึ่ง จะสามารถลดความตึงเครียดลงได้
                    กติกาที่สำคัญอาทิ การพลัดกันพูดพลัดกันฟัง การเปิดใจ ยอมรับฟัง

              ความเห็นที่แตกต่าง การแลกเปลี่ยนความเห็นกันด้วยสุนทรียะ ไม่พูดจา
              โดยมีอคติ ไม่ควรพยายามชักจูงหรือโน้มน้าวความคิดของผู้อื่น ควรมุ่งเน้น
              การเรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  เป็นต้น



                                             0
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220