Page 166 - kpi16531
P. 166
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เมืองพัทยา แม้ว่าหลักการดังกล่าวจะยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และให้ความสำคัญกับขนาดของท่อรับ
น้ำเสียมากกว่าระบบการส่งเสริมการควบคุมและกำจัดน้ำเสียด้วยตนเองของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
อาคารหรือสถานประกอบการที่มีการปล่อยน้ำเสีย-น้ำทิ้ง อย่างไรก็ดี ถือได้ว่าเมืองพัทยามีความ
มุ่งมั่นในการสร้างมาตรฐานเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดน้ำเสีย-น้ำทิ้งในพื้นที่ ที่สำคัญคือการแสดง
ให้เห็นถึงความพยายามที่ต่อเนื่องในการบริหารจัดการระบบน้ำเสีย-น้ำทิ้งให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
< ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เรื่อง การควบคุมการกำจัดน้ำเสียในเขตเมืองพัทยาแก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2533
ข้อบัญญัติฉบับนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เรื่อง การควบคุมการกำจัดน้ำเสียในเขตเมืองพัทยา พ.ศ. 2530 เพื่อให้มี
ความเหมาะสมในการปฏิบัติตามของผู้ที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้นโดยยกเลิกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและ
ค่าออกใบอนุญาตในการให้บริการกำจัดน้ำเสีย-น้ำทิ้ง ท้ายข้อบัญญัติเมืองพัทยาเดิม (พ.ศ.2530)
และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการกำจัดน้ำเสีย-น้ำทิ้ง และค่าใบอนุญาตให้ต่อท่อเชื่อม
น้ำเสีย-น้ำทิ้ง โดยมีสาระสำคัญ คือ การคิดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการกำจัดน้ำเสีย-น้ำทิ้ง
โดยคิดเป็นรายปีตามประเภทของอาคาร และกำหนดอัตรารายละเอียดเป็นพื้นที่ตารางเมตร หรือ
ตามปริมาณจำนวนห้องพักทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารที่กำหนดไว้
< ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เรื่อง การควบคุมและการให้บริการบำบัดน้ำเสียในเขต
เมืองพัทยา พ.ศ. 2545
ข้อบัญญัติฉบับนี้เป็นความพยายามในการปรับปรุงตามมติของคณะกรรมการ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรื่อง การกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีและเพื่อให้
สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่บางประการตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
เมืองพัทยา พ.ศ. 2542 รวมทั้งยกเลิกข้อบัญญัติเมืองพัทยา เรื่อง การควบคุมการกำจัดน้ำเสียในเขต
เมืองพัทยา พ.ศ. 2530 ที่อิงแนวทางการจัดการปัญหาน้ำเสียตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.
2484 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าสมัยและไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ที่ส่งผลให้
เมืองพัทยาไม่อาจประสบความสำเร็จในการจัดเก็บค่าบริการน้ำเสียได้ เพราะข้อบัญญัติดังกล่าว
ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดเก็บค่าบริการน้ำเสียมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 และให้ความสำคัญการให้
บริการน้ำเสีย-น้ำทิ้งเป็นรายปี ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราค่าบริการน้ำเสียที่ต่ำไม่สะท้อนถึงต้นทุน
ในการบำบัดน้ำเสียอย่างแท้จริง และให้มีการประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้แทนเพราะได้นำแนวทาง
การจัดการปัญหาน้ำเสียตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
2535 มาใช้ซึ่งค่อนข้างทันสมัยและมีความเหมาะสมมากกว่า
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
ในข้อบัญญัติฉบับนี้ คือ บทบัญญัติข้อ 4 เรื่อง ‘ผู้ใช้บริการ’ ที่ระบุให้เรียกเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
จากผู้ใช้บริการที่อยู่ในพื้นที่บริการ (ตามแหล่งกำเนิดมลพิษกลุ่มที่ 1 2 และ 3 ตามตารางแนบท้าย)
ซึ่งใช้น้ำประปาหรือน้ำจากแหล่งอื่นเพื่อการอุปโภคบริโภคด้วยเหตุนี้เองจำนวนผู้ใช้บริการจะเพิ่ม