Page 162 - kpi16531
P. 162

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     1
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



                 กรณีตัวอย่างที่ 1: ค่าธรรมเนียมการบริการบำบัดน้ำเสีย


                 เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

                       บริบทพื้นที่


                       เมืองพัทยาตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด
                 208.10 ตร.กม. ประกอบด้วยพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาเกลือ ตำบล

                 หนองปรือ ตำบลห้วยใหญ่ และตำบลหนองปลาไหล ในปี พ.ศ. 2553
                 มีประชากรตามทะเบียนราษฎร จำนวน 107,406 คน แบ่งเป็น 19,900 ครัวเรือน และมีประชากร
                 แฝงประมาณ 4 – 5 แสนคน เนื่องจากพัทยาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงโดยได้รับความ
                 นิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2553 (มกราคม –

                 กันยายน) มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่มากถึง 3,405,622 คน ส่งผลให้มีการก่อตั้งโรงแรมและ
                 ที่พักในพื้นที่จำนวนมากเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ดังเช่นในปี พ.ศ. 2553 มีที่พักจำนวนมากถึง 368

                 แห่ง ประกอบกับมีการก่อตั้งสถานประกอบการหลายแห่งเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว (เมืองพัทยา,
                 ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.pattaya.go.th/)

                       ความเป็นมาในการดำเนินการบำบัดน้ำเสีย


                       แต่เดิมเมืองพัทยามีโรงบำบัดน้ำเสียจำนวน 2 แห่ง คือ ระบบบำบัดน้ำเสียซอยพัทยา 17 และ
                 โรงบำบัดน้ำเสียซอยเกษมสุวรรณ อันเป็นโรงบำบัดที่เมืองพัทยาดำเนินการก่อสร้างขึ้นเอง ความ

                 สามารถในการรองรับปริมาณน้ำเสียของโรงบำบัดทั้งสองแห่งมีจำกัด เพราะสามารถรับน้ำเสีย
                 ได้เพียงชุมชนบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น เนื่องจากเมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก มีความเจริญ
                 เติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าตัว และยังไม่มีแผนรองรับการจัดการน้ำเสียมาก่อน ทำให้
                 น้ำเสียไหลลงทะเลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ความไม่พร้อมทางองค์ความรู้  และการบริหารจัดการ

                 บุคลากร งบประมาณ ค่าใช้จ่ายในระบบบำบัดน้ำเสียในช่วงเวลานั้นของเมืองพัทยา การแก้ไขปัญหา
                 น้ำเสียเมืองพัทยาจึงกลายเป็นการดำเนินงานของภาครัฐ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
                 สิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมการปกครอง และกรมโยธาธิการ (หน่วยงาน ณ ขณะนั้น)

                 ร่วมกันผลักดันโครงการจัดการน้ำเสีย ต่อมาด้วยการเผชิญภาวะวิกฤติน้ำเสียที่สร้างความเสียหาย
                 ให้แก่พื้นที่อย่างมาก ทำให้ในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียแห่งที่สามขึ้น (วัดบุณย์
                 กัญจนาราม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างจากกรมโยธาธิการ และเปิดดำเนินการ

                 ในปี พ.ศ.2537




                 ภาพที่ 1 : ระบบบำบัดน้ำเสียเมืองพัทยา

                 ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/
                 book.php?book=19&chap=1&page=t19-1-infodetail05.html
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167