Page 165 - kpi16531
P. 165
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
< รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (มาตรา 79 และมาตรา
290)
< พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (มาตรา
88-มาตรา 90 มาตรา 93)
< ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง
กำหนดให้ท้องที่เขตเมืองพัทยาเป็นเขตควบคุมมลพิษ
< ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2544) เรื่อง การ
กำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียรวมเมืองพัทยา
2. กฎหมายรองที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำเสียของเมืองพัทยา ได้แก่
< ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เรื่อง การควบคุมการกำจัดน้ำเสียในเขตเมืองพัทยา
พ.ศ. 2530
กล่าวได้ว่าเป็นข้อบัญญัติฉบับแรกที่ระบุถึงเนื้อหาสาระสำคัญของการบริหารจัดการ
น้ำเสียในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรก โดยได้มีการระบุเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าออก
ใบอนุญาตเป็นเกณฑ์ และกำหนดให้เจ้าพนักงานสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานประกอบการ
ใดๆ ต่อท่อเชื่อมน้ำเสียและน้ำทิ้งรวม และกำหนดให้จัดเก็บค่าแบบระบบกำจัดน้ำเสียและค่าแบบ
ต่อท่อเชื่อมน้ำทิ้งน้ำเสียนั้นโดยมีผลใช้บังคับภายหลังจากได้ประกาศใช้ข้อบัญญัติฉบับนี้ล่วงพ้น
ไปแล้ว 1 ปี ข้อบัญญัติดังกล่าวมีหลักการสำคัญที่จะควบคุมปัญหาน้ำเสียภายใต้หลักผู้ก่อให้เกิด
มลพิษต้องเป็นผู้จ่าย โดยให้มีการจัดเก็บค่าบำบัดตามพื้นที่ที่เมืองพัทยาได้ให้บริการต่อท่อเชื่อม
น้ำเสีย (ค่าแบบต่อท่อเชื่อมน้ำทิ้ง-น้ำเสีย ค่าแบบระบบกำจัดน้ำเสีย ค่าแบบระบบกำจัดน้ำโสโครก)
แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานประกอบการเพื่อให้ระบายน้ำเสีย-น้ำทิ้งลงสู่ท่อรับ
น้ำรวมของเมืองพัทยา รวมถึงการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต พร้อมทั้งกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่
ฝ่าฝืนต้องระวางโทษทั้งจำคุกหรือดำเนินการจับปรับซึ่งมีการบังคับใช้มาถึง 15 ปี จนกระทั่งถึง
ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการยกเลิกข้อบัญญัติเดิมไป อันเนื่องจากอัตราการจัดเก็บค่าบริการน้ำเสีย
ที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้สะท้อนต้นทุนในการจัดเก็บค่าบริการน้ำเสีย
< ระเบียบเมืองพัทยาว่าด้วยเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีการต่อท่อเชื่อมน้ำเสีย
เข้ากับท่อรับน้ำเสีย พ.ศ. 2531
ต่อมาเมื่อได้มีการปล่อยน้ำเสีย-น้ำทิ้งลงสู่ท่อรับน้ำเสียรวมของเมืองพัทยาแล้ว
อย่างไรก็ดี เพื่อจัดระเบียบควบคุมการต่อท่อเชื่อมน้ำเสียให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและป้องกันการ
เสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการต่อท่อเชื่อมน้ำเสีย พร้อมทั้งกำหนดลักษณะของน้ำเสีย-น้ำทิ้ง
เมืองพัทยาจึงได้ออกระเบียบต่อเนื่องอีกฉบับเพื่อให้การควบคุมอัตราการไหลรวมของน้ำเสียตาม
ประเภทอาคาร ทั้งนี้โดยพิจารณาจากขนาดของท่อรับน้ำเสียตามประเภทของอาคารที่ตั้งอยู่ในเขต